วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้อมูลโรงแรม รีสอร์ท ที่พัก ในจังหวัดพะเยา


ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม : ลัดดาวัลย์ รีสอร์ท (บ้านหิน)
ที่อยู่ : 228 หมู่ 3 ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา 56110
โทรศัพท์:0 5445 4229, 08 7178 9934
เว็บไซต์ : http://www.laddawan-resort.th.gs
จำนวนห้องพัก : 3 ห้อง , ราคา : 500 - 1000 บาท


ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม : เรือนเอื้องคำ
ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาลัยเขตสารสนเทศพะเยา
ที่อยู่ : 19 หมู่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000
โทรศัพท์:0 5446 6688-89, 0 5446 6666 ต่อ 2200-5 แฟกซ์: 0 5446 6690
จำนวนห้องพัก : 50 ห้อง , ราคา : 450 - 450 บาท


ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม : เรือนไม้ไผ่
ที่อยู่ : 17 หมู่ 10 ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
โทรศัพท์:08 1472 7727
ราคา : 400 บาท


ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม : ภูซาง เฮือนไทย รีสอร์ท
ที่อยู่ : ถนนสบบง-บ้านฮวก ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
โทรศัพท์:0 9434 3751, 0 1672 2062
จำนวนห้องพัก : 23 ห้อง , ราคา : 400 - 500 บาท


ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม : บัวทองรีสอร์ท
ที่อยู่ : 205 หมู่1 ตำบลเจดีย์คำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
โทรศัพท์:0 5445 2831, 0 1724 5482
จำนวนห้องพัก : 15 ห้อง , ราคา : 350 - 700 บาท


ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม : พะเยาคอนโดเทล
ที่อยู่ : 601 ม.11 ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
โทรศัพท์:0 5441 0436
ราคา : 199 - 299 บาท


ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม : บัวรีสอร์ท
ที่อยู่ : 262 ม.3 ถนนซุปเปอร์ไอเวย์ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
โทรศัพท์:0 5448 1596, 0 2277 9773
จำนวนห้องพัก : 14 ห้อง , ราคา : 400 - 1400 บาท


ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม : บัวทองรีสอร์ท
ที่อยู่ : 205 ม.1 ตำบลเจดีย์คำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
โทรศัพท์:0 5445 2831, 0 1724 5482
จำนวนห้องพัก : 15 ห้อง , ราคา : 350 บาท


ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม : จันทร์หอม
ที่อยู่ : 127 หมู่ 6 ตำบลเชียงแรง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
โทรศัพท์:0 5445 1141
ราคา : 150 - 300 บาท


ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม : เชียงคำโฮเต็ล
ที่อยู่ : 66 หมู่ 13 ถนนพิศาล ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
โทรศัพท์:0 5445 1771 แฟกซ์: 0 5445 1774
จำนวนห้องพัก : 40 ห้อง , ราคา : 250 - 350 บาท

ของฝากเมืองพะเยา "ปลาส้ม"


..."ปลาส้ม " เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนา คุณศรีทนเล่าว่า ได้รับการสืบทอดมรดกการทำปลาส้มจากบรรพบุรุษปู่ ย่า ตายาย และบิดารมารดา ซึ่งเดิมที่คุณพ่อคุณแม่ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันเวียงใหม่ ซึ่งอยู่ติดกับกว๊านพะเยา ซึ่งกว๊านพะเยานั้นเป็นบ่อเกิดแห่งชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของชาวเมืองพะเยา ชาวบ้านนอกจากจะมีอาชีพเกษตรกรรมแล้ว ยังมีอาชีพประมงพื้นบ้าน หากิน หาปู หาปลาดำรงชีพมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เมื่อชาวบ้านหาปลามาแล้วก็มีวิธีการถนอมอาหารให้เก็บไว้กินได้นาน ๆ จึงเกิดภูมิปัญญาชาวบ้านในการแปรรูปอาหารจากปลาต่าง ๆ เช่น ย่าง หมัก ตากแดด ปลาร้า ปลาเจ่า ฯลฯ รวมทั้งการนำมาทำ "ปลาส้ม " จนเป็นสินค้าที่ลือชื่อของฝากจากจังหวัดพะเยาในปัจจุบัน....

.....กลุ่มปลาส้มศรีทน ได้จัดตั้งขึ้นมาเป็นกลุ่ม เมื่อ ปี 2542 ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 35 คน แหล่งวัตดิบ ทำจากปลาจีน นำมาจาก จ.อ่างทอง (พ่อค้านำมาส่งให้ที่กลุ่ม ซื้อราคากิโลกรัมละ 18-25 บาท ตามขนาดแต่ละรุ่น)ผลผลิต ประมาณ วันละ 400 - 500 กิโลกรัม ระยะเวลาการผลิต ดำเนินการผลิตตลอดปี...

" อร่อยทั่วไทย " ศรีทนปลาส้ม แชมป์ 8 ปีซ้อน ของฝากจากพะเยา...
ตั้งอยู่ที่ บ.สันเวียงใหม่ หมู่ที่ 4 ต.บ้านสาง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา 56000
โทร. 0-5445-8799 มือถือ 09-6332025

สุรากลั่นชุมชน สุราขาวลิ้นจี่ (OTOP)


ผลิตภัณฑ์ (Product) สุรากลั่นชุมชน

รายละเอียดผลิตภัณฑ์
สุรากลั่นชุมชน สุราขาวลิ้นจี่(OTOP)


สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ประเภทผลิตภัณฑ์ : เครื่องดื่ม
ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค :

สถานที่จำหน่าย
กลุ่มเกษตรกรทำสวนแม่กา
2 หมู่ 15 บ้านเกษตรสุข ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา 56000
ติดต่อ : นายปฐม เจณณวาสิน
โทร : 0-5444-5037, 08-6912-3980
E-mail : pathom_c@yahoo.com

แคบหมู OTOP พะเยา ดอกคำใต้


ผลิตภัณฑ์ (Product) แคบหมู

รายละเอียดผลิตภัณฑ์
แคบหมู(OTOP)


สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ประเภทผลิตภัณฑ์ : อาหาร
ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค :

สถานที่จำหน่าย
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านสันกลาง
225 หมู่ 1 ต.ดอกคำใต้ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา 56120
ติดต่อ : คุณวิไลลักษณ์ พรหมเสน
โทร : 08 7183 2331 , 054 418184

อุทยานแห่งชาติภูซาง พะเยา


อุทยานแห่งชาติภูซาง พะเยา

อุทยานแห่งชาติภูซาง ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ 186,875 ไร่ หรือ 299 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเคยอยู่ภายใต้อิทธิพลของคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทย มีความโดดเด่นทางธรรมชาติ กล่าวคือ

มีน้ำตกเป็นน้ำอุ่น และมี สภาพป่าภูเขาที่สลับซับซ้อนสวยงามตามธรรมชาติ เดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว

ทิศเหนือ จด ห้วยเมี่ยง ตำบล ตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
ทิศใต้ จด ทางหลวงสาย 1160 (บ้านแฮะ - บ้านน้ำมิน) ตำบล ฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
ทิศตะวันออก จด เขตแดนไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตำบลภูซาง อำเภอกิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
ทิศตะวันตก จด หมู่บ้านในท้องที่ ตำบลภูซาง ตำบลทุ่งกล้วย กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ตำบล ร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ตำบล เวียง อำเภอ เชียงคำ จังหวัดพะเยา ตำบล แม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ตำบล ฝายกวาง อำเภอ เชียงคำ จังหวัดพะเยา

สถานที่เที่ยวในอุทยานแห่งชาติภูซาง พะเยา

อุทยานแห่งชาติภูซาง
มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชัน สลับซับซ้อน ปกคลุมด้วยป่าไม้ตามธรรมชาติ และมีน้ำตกที่มีกระแสน้ำเป็นกระแสน้ำอุ่น อุณหภูมิประมาณ 33 - 35 องศาเซลเซียส นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาเที่ยวชมทัศนียภาพและทิวทัศน์อันสวยงาม ที่อุทยานท่านสามารถดูนกนานาพันธุ์ เดินป่าศึกษาธรรมชาติทั่วไป และยังสามารถตั้งแคมป์พักแรมในบริเวณที่อุทยานเตรียมไว้ให้อีกด้วย ซึ่ง นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาพักได้ตลอดทั้งปี


การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติภูซาง พะเยา

การเดินทาง เมื่อมาถึงอำเภอเชียงคำ จ.พะเยาแล้ว ให้เดินทางมายังถนนหมายเลข 1093 ไปประมาณ 17 กิโลเมตร

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แม่ยมพาเลส โรงแรมที่พัก ในจังหวัดแพร่


แม่ยมพาเลส
โรงแรมมาตรฐานสากลโดดเด่นด้วยสถาปัตกรรม ล้านนาตะวันออก พรั่งพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ห้องพัก 104 ห้อง ห้องประชุม ห้องสัมมนา และห้องจัดเลี้ยงที่กว้างขวางพร้อมสรรพด้วยโสตทัศนูปกรณ์ทุกชนิด ซึ่งทำให้ธุรกิจการพักผ่อนของคุณสามารถดำเนินควบคู่ไป

สถานที่ตั้ง
เลขที่ ๑๘๑/๖ ถ. ยันตรกิจโกศล อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

รายละเอียด
แม่ยมพาเลส มีจำนวน ๑๐๔ ห้อง โรงแรมแรมแม่ยมพาเลส โรงแรมมาตรฐานสากลโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมล้านนาตะวันออก พรั่งพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ห้องพัก 104 ห้อง ห้องประชุม ห้องสัมมนา และห้องจัดเลี้ยงที่กว้างขวางพร้อมสรรพด้วยโสต ทัศนูปกรณ์ทุกชนิด ซึ่งทำให้ธุรกิจการพักผ่อน แม่ยมยังได้สรรหาความสุขสมบูรณ์แบบไว้บริการด้วยอาหารนานาชาติ และเครื่องดื่มนานาชาติ พร้อมบริการที่เปี่ยมด้วยรอยยิ้มอันประทับใจ

เบอร์โทร โทร. 054-521029-35/ โทรสาร 054-522904

ที่พักโรงแรมใน จ.แพร่ โรงแรมภราดร


โรงแรมภราดร
มีร้านอาหารบริการเป็นการบริการแบบบุพเฟ่ สามารถนำอาหารเข้าไปรับประทานในห้องพักได้

รายละเอียด
ภราดร มีจำนวนทั้งหมด ๖๕ ห้อง มีร้านอาหารบริการเป็นการบริการแบบบุพเฟ่ สามารถนำอาหารเข้าไปรับประทานในห้องพักได้

สถานที่ตั้ง
เลขที่ ๑๗๗ ถ. ยันตรกิจโกศล อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

เบอร์โทร
โทร. 054-511177,054-511059,054-521719/ โทรสาร 054- 522340

ไหว้พระที่ วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีฯ จ.แพร่


วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีฯ

อำเภอ
อำเภอเด่นชัย

รายละเอียด
วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีเป็นวัดใหม่ที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2520 มีศิลปะการก่อสร้างเป็นศิลปกรรมแบบไทยเหนือ มีความสวยงามและอลังการ

ที่ตั้ง
อำเภอเด่นชัย

ประเภทการท่องเที่ยว
วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์

เที่ยว วนอุทยานแพะเมืองผี


วนอุทยานแพะเมืองผี

รายละเอียด
แพะเมืองผีอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่างๆประวัติความเป็นมา วนอุทยานแพะเมืองผี เป็นหน่วยงานสังกัดสำนักบริหาร จัดการในพื้นที่อนุรักษ์ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้มีการประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2524 มีเนื้อที่ 167 ไร่ เป็นสถานที่มีความสวยงามด้าน ธรณีวิทยา หน้าผา เสาดิน และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ..........."แพะเมืองผี " มีตำนานเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ ความลี้ลับจนเป็นความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่บรรพบุรุษได้เล่าสืลต่อกันมาว่า มียายชราคนหนึ่ง เข้าไปในป่าถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้พบหลุมเงินหลุมทองยายชราพยายามจะเอาเงิน เอาทองใส่หาบกลับบ้าน แต่เทพยาดาอารักษ์ไม่ให้เอาไปเพียงแต่เอาอวดให้เห็นเท่านั้น พอไปตามชาวบ้านมาดูก้พบแต่รอบเท้า หาบเงิน หาบทอง หายไป ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่นี้ว่า "แพะเมืองผี"

การเดินทาง
ตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำชำ ใช้เส้นทางหลวงสายแพร่ - น่าน ทางหลวงหมายเลข 101 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าไปอีก 6 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ตำบลน้ำชำ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ ประมาณ 15 กิโลเมตร

แก่งหลวง จังหวัดแพร่


แก่งหลวง

อำเภอ
อำเภอลอง

ประเภทการท่องเที่ยว
ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ

รายละเอียด
เป็นบริเวณที่มีโขดหินใหญ่น้อยเรียงรายอยู่ในแม่น้ำยม ซึ่งเมื่อน้ำไหลมาปะทะจะเกิดฟองฝอยสาดกระเซ็นสวยงาม
เหมาะสำหรับจัดกิจกรรมนั่งแพ และล่องแก่ง
ไต่เชือกมีกิจกรรมที่เข้าเป็นฐานผจญภัยและยังเป็น
จุดชมความงามของลำน้ำยมอีกแห่งหนึ่ง

การเดินทาง
ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่ปาน ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามเส้นทางหลวง
หมายเลข 11 ประมาณ 63 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 8 กิโลเมตร

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปาย เฮิร์บ รีสอร์ท, Pai Herbs Resort


ปาย เฮิร์บ รีสอร์ท, Pai Herbs Resort
พบกับรีสอร์ทแสนสงบท่ามกลางหุบเขาปายที่สงบเงียบที่เป็นส่วนหนึ่งของแม่ฮ่องสอน

ที่ซึ่งผสมผสานด้วยวัฒนธรรมดั้งเดิมที่น่าดึงดูดใจของชาวล้านนาและสถาปัตยกรรมชายไทยใหญ่ ด้วยธรรมชาติที่งดงามและคงความอุดมสมบูรณ์ของหุบเขาที่จะนำเสนอประสบการณ์ที่มิอาจลืมเลือน

ไม่ว่าจะเลือกผ่อนคลายกับสปาที่หรูหราหรือเซาว์น่าของเรา, รับประทานอาหารที่ร้านอาหารไทยแสนอร่อย, ล่องเรือผจญภัยกับทัวร์พื้นเมืองเข้าไปที่ภูเขา หรือแค่นั่งเล่นสบายๆชมทิวทัศน์ที่ชานบ้านส่วนตัว


ปายเฮิร์บ รีสอร์ท ขอมอบความหรูหรามากที่สุดของภาคเหนือให้คุณ


Pai Herbs Resort, 323 Moo 5, Chaisongkram Rd., T. Wiantai, Pai, Maehongson**

ปาย ฮิลไซด์ รีสอร์ท


ท่ามกลางอ้อมกอดของขุนเขาและทะเลหมอก “Pai Hillside Resort” ตั้งอยู่ในบริเวณที่เงียบสงบ แวดล้อมด้วยธรรมชาติที่สวยงาม ที่คุณสามารถพักผ่อนและดื่มด่ำกับธรรมชาติ ได้นานตราบที่ต้องการ

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เสน่ห์สาวล้านนา


สาวสันกำแพงแก้มแดงชวนมอง
สาวสันป่าตองผิวผ่องเป็นยองใย
สารภีมีลักยิ้มบาดใจ
ดอยสะเก็ดเหมือนเพชรจารไน
ผิวเนื้อนมไข่ สาวสันทรายชวนมอง

สาวหาง ดง ทรวดทรงอวบอั๋น
นัยตาหวานๆ นั่นหละสาวจอมทอง
นัยตาเศร้าๆ สาวดอยเต่านวลน้อง
แม่วาง แม่แจ่ม บัวแรกแย้มอ๋องต่อง
สาวหอด ขาวผ่อง อมก๋อย ก็ไฉไล

สาวแม่ริมมีลักยิ้มที่มาแรง
สาวแม่แตง แก้มแดงผิวไข่
สาวสำอางก็งามพริ้วไม่เบา
สาวเชียงดาว เจ้าก็งามเฉิดฉาย
ชัยปราการ งามสะท้านทรวงใน
แม่อายสะอ้าง สาวเมืองฝาง เหนือใคร
สุดเขตแดนสยาม สาวงามใดๆ
สวยซึ้งตรึงใจ ทั่วทุกอำเภอ

สาวถิ่นเวียงแหง แก้มแดงยวนยี
ผู้สาวหั่งหลีเข้มจ๊ะ จริงนะเออ
สาวอำเภอพร้าว เจ้าก็งามเลิศเลอ
เมืองเชียงใหม่ สวยบาดใจนะเออ
ไม่มีใครเกินเธอ โอ้แม่สาวล้านนา

สาวแม่ริมมีลักยิ้มที่มาแรง
สาวแม่แตง แก้มแดงผิวไข่
สาวสำอางก็งามพริ้วไม่เบา
สาวเชียงดาว เจ้าก็งามเฉิดฉาย
ชัยปราการ งามสะท้านทรวงใน
แม่อายสะอ้าง สาวเมืองฝาง เหนือใคร
สุดเขตแดนสยาม สาวงามใดๆ
สวยซึ้งตรึงใจ ทั่วทุกอำเภอ

สาวถิ่นเวียงแหง แก้มแดงยวนยี
ผู้สาวหั่งหลีเข้มจ๊ะ จริงนะเออ
สาวอำเภอพร้าว เจ้าก็งามเลิศเลอ
เมืองเชียงใหม่ สวยบาดใจนะเออ
ไม่มีใครเกินเธอ โอ้แม่สาวล้านนา

โคมลอยแห่งล้านนา

ความเป็นมาโคมลอยแห่งล้านนา

โคมลอยนั้น ในอดีตถือเป็นเครื่องหมายที่ใ้ช้แสดงออกถึงการเป็นพุทธบูชา ที่ชาวพุทธมีต่อพระพุทธศาสนา และยังมีความเชื่อว่าการปล่อยโคมลอยนั้นจะ ให้หมดเคราะห์หมดโศรก และช่วยส่งเสริมค้ำจุนดวงชะตาชีวิตให้เจริญรุ่งเรือง สูงขึ้นไป เหมือนโคมลอยที่ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า ปัจจุบันนั้นโคมลอยได้ถูกนำมาเป็น เครื่องใช้ที่ใช้ปล่อยในงานต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้ัองกับพุทธศาสนา งานบุญสำคัญต่างๆ หรือแม้แต่โอกาสสำคัญต่างๆ จากประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติทั่วไป เนื่องจากความงดงามของแสงเทียนของโคมลอยที่ส่องสว่างในยามค่ำคืนบน ท้องฟ้านั้นสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ที่พบเห็น และผู้ปล่อยจนทำให้โคมลอย เป็นศิลปะวัฒนธรรมใหม่ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ดอกเสี้ยวบานที่ ภูชี้ฟ้า

ดอกเสี้ยวบานที่ ภูชี้ฟ้า

ดอกเสี้ยวบานที่ ภูชี้ฟ้า วันนี้ผมไม่ได้ตั้งใจไปเที่ยวบนภูชี้ฟ้าหรอกครับ แต่ตั้งใจไปทำงาน ระหว่างทางมีดอกไม้สีขาวชมพูบานไปทั่วป่าเขา พอไปถึงที่หมายจุดที่ผมจะทำงานจึงได้รู้ว่ามันคือ "ดอกเสี้ยว" และเมื่อวานเทศกาลดอกเสี้ยวบานก็จบลงแล้ว เทศกาลก็จะมีการจัดแสดงสินค้าของชนเผ่าต่าง และการแสดงอื่นๆอีกมากมาย น่าเสียดายที่ผมไม่ได้ร่วมงาน แต่ยีงคงหลงเหลือดอกเสี้ยวบานทั่วยอดภูไปหมด นักท่องเที่ยวต่างจังหวัดน่าไปกันนะครับ สำหรับคนที่จะเดินทางมาภูชี้ฟ้าในช่วงนี้ เหมือนกับยิงทีเดี่ยวได้นกสองตัวเลยละ ช่วงเช้าๆ ก็จะได้สัมผัสอากาศหนาวและความสวยของทะเลหมอกบนยอดภูชี้ฟ้า สายๆ แดดอุ่นๆ เริ่มส่องหมอกบางๆ เริ่มจาง ก็จะได้เห็นดอกเสี้ยวบานเต็มไปหมดมันสวยจริงๆครับ ดูดอกไม้สวยๆ แต่ก็อย่าลืมดูสาวๆ ชาวม้ง นะครับสวยๆทุกคนเลย ถ้ามาช่วงนี้ก็ยังมีให้เห็นอยู่นะครับ ไม่งั้นก็รอมาปีหน้า มาช่วงเดือนกุมภาพันธ์นะครับ รับลองไม่ผิดหวังครับ

โดย ชัชวาล มาไกล

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สาวดอย, อีก้อ


อีก้อ

อีก้อ ส่วนหนึ่งอพยพผ่านตอนเหนือของประเทศลาว เข้ามาอยู่ทางตอนใต้ของรัฐฉาน ประเทศพม่า อีกส่วนหนึ่งเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ในเขตจังหวัดเชียงราย อีก้อ เป็นพวกรักสงบ และมีหลายสิ่งหลายอย่างอันแดสงถึงการ เป็นคนเจ้าสำราญยิ่งกว่าเผ่าอื่นๆ
บ้านของอีก้อปลูกเป็นหลังมีระเบียงเป็นที่นั่งเล่น และใช้เป็นครัวด้วย ในเรือนมีเตาไฟซึ่งคุกรุ่นอยู่ตอลดวัน ข้างๆเตาจะปูเสื่อลำแพน ใช้เป็นที่รับแขกและเป็นที่นอนยามกลางคืนด้วย ถ้ามีแขกมาเยี่ยมเยียน ทั้งแขกและเจ้าของบ้านจะนอนรวมกันในห้องเดียวกันนี้ ถ้าเป็นแขกที่นับถือแล้ว อีก้อจะปรุงอาหารพิเศษให้กิน คือแกงมหาดำ (แขกธรรมดาก็ได้กินแกงหมาธรรมดา)
การแต่งกายนั้นพวกผู้ชาย นุ่งกางเกงยาวสีน้ำเงินเข้ม ใส่เสื้อผ่าอก บางคนมีผ้าโพกหัว บางคนไม่มี


ผู้หญิงจะมีขนนกสีสวยๆ ลูกปัด เหรียญเงินต่างๆ ประดับบนหมวก นุ่งกระโปรงสีน้ำเงินเข้มสูงเหนือเข่า ใส่เสื้อสีเดียวกันค่อนข้างยาว มีทางขวางผ่านที่เอว ที่น่องสวมผ้าพันแข้งสีเดียวกับกระโปรง ทำเป็นปลอกแข็งๆ
ชาวอีก้อมีประเพณีลงข่วง คือการไปที่สถานที่นัดพบของหนุ่มสาว เรียกว่า ลานกอดสาว ที่นั่นจะมีการเต้นรำ จังหวะช้าบ้างเร็วบ้างเป็นอย่างนี้ทุกคืนจนดึกตลอดปี พอดึกๆหนุ่มสาวก็จะพากันหลบไปเป็นคู่ๆ ซึ่งเป็นประเพณีเด็กรุ่นๆ สาวอีก้อจะเสียตัวทุกคน ถ้าตั้งครรภ์ก็จะให้คู่ของตนไปสู่ขอแต่งงาน ถ้าฝ่ายชายไม่ยอมแต่งด้วย ก็จะต้องเสียผีให้ ภายหลังการแต่งงานแล้วสาวอีก้อจะอยู่ในสภาพช้างเท้าหลัง และทำงานหนักไปตลอดชีวิต เช้ามืดตำข้าว ทำงานต่างๆไปทั้งวัน
การกินอาหารของชาวอีก้อ พ่อบ้านตอ้งกินก่อน อิ่มแล้วแม่บ้านจึงจะกินได้ อิมแล้วลูกชายกินต่ออีกที จากนั้นก็เป็นลูกสาว เมื่อไรที่สามีภรรยาอยู่ร่วมกันได้ 50 ปี จึงจะกินข้าวร่วมกันได้
เมื่อข้าวที่ปลูกไว้งอกงามดีแล้ว ก็จะมีพิธีโล้ชิงช้า และชิงช้านี้ถ้ายังไม่ถึงงานโล้ชิงช้าแล้ว ใครจะมาโล้เล่นไม่ได้เป็นอันขาด พอถึงเทศกาลปีใหม่ พวกอีก้อก็จะมีการกินเลี้ยง เรียกว่า กินวอ กินอิ่มแล้วก็จะไปเต้นรำกัน เต้นเหนื่อยแล้วก็มากินกันอีก ต่อกัน 3 วัน 3 คืน ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ มีพิธีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ ของเซ่นไหว้มี 4 อย่าง คือ ไก่ ข้าว เหล้าและชา อย่างละ 5 ถ้วย ในเทศกาลกินวอนี้ ชาวอีก้อทุกคนจะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าใหม่สวยงาม ที่ได้เตรียมไว้ก่อนแล้ว อาหารที่เลี้ยงกันมีเนื้อสัตว์ ผักต่างๆ ซึ่งปรุงแบบเผ็ดจัด วิธีกินคือปั้นข้าวเป็นก้อน จิ้มแกงกิน และแบ่งกันกินเป็นพวกๆ ผู้ชายพวกหนึ่ง ผู้หญิงพวกหนึ่ง เด็กๆพวกหนึ่ง.

พะเยา หาปลา กว๊านพะเยา


“กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงามคำ งามลือเลื่องดอยบุษราคัม”
นี่คือคำขวัญประจำจังหวัดพะเยา ซึ่งอาจเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนจากอำเภอเป็นจังหวัดครับ แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่อาจมีมาก่อนคำขวัญนี้จะเกิดขึ้น เพื่อน ๆ ลองเดากันดูสิครับ ??? ถูกต้องนะครับ ...กว๊านพะเยานั่นเอง

กว๊านพะเยา อยู่ในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือ และ อันดับ 3 ของประเทศไทย (รองจาก หนองหาน และ บึงบอระเพ็ด) คำว่า "กว๊าน" ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง" เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากหลัง เกิดจากน้ำที่ไหลมาจากห้วยต่างๆ 18 สาย มีปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ 29.40 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพันธ์ปลาน้ำจืดกว่า 48 ชนิด มีเนื้อที่ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาต่างๆ ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีส่วน ทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ที่สวยงามประทับใจผู้พบเห็น จนอาจจะกล่าวได้ว่าหัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่กว๊านพะเยานี่เอง

ริมกว๊านพะเยาเป็นร้านอาหารและสวนธาธารณะให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจ กว๊านพะเยาในอดีตแต่เดิมเคยเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมีสายน้ำอิงไหลพาดผ่านคดเคี้ยวทอดเป็นแนวยาวไปตลอด จาดทิศเหนือจรดขอบกว๊านฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประกอบกับมีหนองน้ำน้อยใหญ่หลายแห่งและร่องน้ำหลายสายที่ไหลลงมาจากขุนเขาดอยหลวงแล้วเชื่อมติดต่อถึงกัน ทำให้พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำแห่งนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งนักและมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่เป็นชุมชนนานนับตั้งแต่โบราณ

เที่ยวที่ อำเภอแม่ทา, ลำพูน


อ่างเก็บน้ำแม่กึม

แยกจากทางหลวงสายท่าจักร-แม่ทาเข้าไป 3 กิโลเมตรเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของคนในท้องถิ่น มีชื่อเสียงในด้านการตกปลาธรรมชาติ

หมู่บ้านแกะสลักบ้านทา

ไปตามถนนสายแม่ทา-ท่าจักรประมาณ 15 กิโลเมตร หมู่บ้านแห่งนี้เป็นแหล่งผลิตไม้แกะสลักเป็นรูปแบบต่างๆเช่น รูปคน รูปสัตว์ หรือแกะสลักเป็นเครื่องใช้ต่างๆ เครื่องประดับบ้าน

ถ้ำจำหม่าฟ้า

ไปตามถนนสายแม่ทา-ท่าจักรประมาณ 20 กิโลเมตร ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อยที่คงสภาพตามธรรมชาติอย่างสวยงาม

อ่างเก็บน้ำแม่เส้า

อยู่ที่บ้านหลายท่า หมู่ 9 ตำบลทาสบเส้า ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่ทา ประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นอ่างเก็บน้ำธรรมชาติในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตัวเขื่อนสูง 19 เมตร ยาว 271 เมตร ทางเดินขึ้นหน้าเขื่อนกว้าง 4 เมตร เก็บน้ำได้ประมาณ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร สร้างโดยศูนย์ปฏิบัติการ รพช. ภาคเหนือ ภายในบริเวณมีทิวทัศน์สวยงาม พร้อมศาลาพักร้อนให้นั่งพักผ่อน และรับประทานอาหารจานเด็ดคือปลาเผาทรงเครื่อง กุ้งเต้นและไก่ทอดทาชมพู

อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล

มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน อำเภอห้างฉัตรและอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สภาพพื้นที่เป็นป่าเขาอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 255 ตร.กม. นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยทางรถไฟลงที่สถานีขุนตาล เดินเท้าอีกประมาณ 1 กม. ถึงที่ทำการอุทยานฯ

สำหรับทางรถยนต์ที่ตัดเข้าสู่ดอยขุนตาลเริ่มต้นจากอำเภอแม่ทา โดยมีทางแยกขวาจากถนนพหลโยธิน ที่มุ่งสู่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะทาง 18 กม.

สถานที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ

อุโมงค์ขุนตาล

เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว 1,352 เมตร สร้างขึ้นโดยชาวเยอรมันชื่อเอมิล ไอเซนโฮเฟอร์แต่ยังไม่แล้วเสร็จเพราะในระหว่างการสร้างอุโมงค์เกิดสงครามโลกครั้งที่1 ทำให้นายเอมิลเดินทางกลับประเทศ ต่อมาปี พ.ศ.2460 กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระบิดาแห่งการรถไฟฯเสด็จมาเป็นแม่งานก่อสร้างจนเสร็จในปีพ.ศ. 2461

บริเวณยอดเขา

จากที่ทำการอุทยานฯซึ่งมีที่พักของกรมป่าไม้ตั้งอยู่ เดินเท้าต่อไปประมาณ 1,500 เมตร จะถึง ย. 1หรือยอดเขาที่หนึ่ง เป็นที่ตั้งของบ้านพักรับรองของการรถไฟแห่งประเทศไทย จากนั้นเดินเท้าต่อไปอีก 800 เมตร จะถึง ย. 2 บริเวณนี้มีต้นสนเขาขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีบ้านพักรับรองของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ภายในบริเวณปลูกพันธุ์ไม้เมืองหนาวและจัดตกแต่งสถานที่อย่างสวยงาม หากเดินต่อไปอีกประมาณ 3,600 เมตร จะถึงย. 3 เป็นที่ตั้งของบ้านพักมิชชันนารี จุดสูงสุดของเทือกเขาดอยขุนตาลมีชื่อเรียกว่า “ม่อนส่องกล้อง” หรือ ย. 4 ระยะทางเดินจากย. 3 ประมาณ 1 กม.

น้ำตกแม่กลอง

อยู่ทางทิศใต้ของสถานีขุนตาล ห่างไปประมาณ 10 กม. โดยลงรถไฟที่สถานีแม่ตาลน้อย แล้วเดินเท้าไปอีกประมาณ 3 กม. มีน้ำไหลตลอดปี

น้ำตกตาดเหมย

อยู่แยกจากเส้นทางด้านซ้ายมือ ระหว่างทางจาก ย. 2 ไป ย. 3 โดยต้องเดินลงไปในหุบเขาแม่ยอนหวาย ประมาณ 300 เมตร

อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล มีบ้านพักและเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์ไปเองทางอุทยานฯ ได้จัดบริเวณสำหรับกางเต็นท์ไว้ให้ ติดต่อจองที่พักได้ที่ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579-5734, 579-7223 นอกจากนี้ยังมีบ้านพักของการรถไฟแห่งประเทศไทย ติดต่อได้ที่ โทร. 225-6964 และบ้านพักมิชชันนารี ซึ่งติดต่อได้ที่มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (053) 304041-2, 305098, 241255 ต่อ แผนกบุคคล 311

วัดพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง


วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดที่เป็นต้นกำเนิดของเมืองลำปาง และเป็นวัดที่มีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าส่วนสำคัญบรรจุอยู่ในองค์พระธาตุเจดีย์ที่เป็นประธานของวัด อีกทั้งเป็นวัดที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตอันล้ำค่า และเป็นวัดที่มีอนุสรณ์แห่งการกอบกู้อิสระภาพของชาติไทยในแดนล้านนาไทยไม่ให้ตกเป็นทาสเมืองขึ้นของประเทศอื่น ๆ ครับ วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณกาล มีความสวยงามและยอดเยี่ยมทั้งสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม ซึ่งวัดแห่งนี้ไม่ได้มีความสำคัญสำหรับชาวนครลำปางเท่านั้น แต่ยังเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านและชาวเมืองทั้งใก้ลไกล อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้ประกอบราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

วัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นวัดไม้เก่าแก่ที่ยังคงความสมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย มีคุณค่าทั้งในทางประวัติศาสตร์และทางสถาปัตยกรรมอย่างยิ่ง โดยงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมการวางผังของวัดจะยึดคติความเชื่อในจักรวาลทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเชื่อว่าเขาพระสุเมรุเป็นหลักของจักรวาล มีสวรรค์วิมานชั้นต่าง ๆ มีทวีปใหญ่ ๔ ทวีป บริเวณที่เป็นทรายก็เปรียบเหมือนมหาสมุทรศรีทันดร ซึ่งตามตคิโบราณใช้ทรายแทนมหาสมุทรศรีทันดร ดังนั้นการก่อเจดีย์ในวัด โดยเฉพาะที่วัดพระธาตุลำปางหลวงจึงเป็นการเสริมให้มหาสมุทรศรีทันดนคงอยู่ต่อไป

ก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นลำไยแห่งบ้านเวียงยอง จังหวัดลำพูน


ก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นลำไยแห่งบ้านเวียงยอง

หากกล่าวถึงจังหวัดลำพูนหลายคนก็จะนึกถึงลำไยผลไม้ยอดฮิตครับ ซึ่งปัจจุบันก็มีลำไยสายพันธุ์ต่าง ๆ ออกมามากมาย แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาดแถมยังขายไม่ได้ราคา นอกจากจะขายเป็นลำไยสด ๆ แล้ว หลายคนก็นำเอาลำไยมาแปรรูปเป็นสินค้าอื่น ๆ เช่น แปรรูปเป็นลำไยอบแห้ง หรือแปรรูปเป็นน้ำลำไยใส่ขวดส่งขายตามร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ แต่ร้านที่หมูหินจะพาไปชิมในทริปนี้มันช่างแตกต่างจากที่กล่าวมาโดยสิ้นเชิงครับ

ร้านก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นลำไย เปิดขายมานานกว่า 12 ปีแล้วครับ ปัจจุบันมีที่นี่ที่เดียวไม่มีสาขาอื่น แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ จะเปิดสาขาใหม่ที่ตลาดสันป่าข่อย อ.เมือง เชียงใหม่ (อยู่โซนหลังลานจอดรถของทหารค่ายกาวิละจังหวัดเชียงใหม่) และอีกสาขาหนึ่งที่ศูนย์การค้าอัมรินพลาซ่า ชั้น 4 กทม.ครับ

สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากจะมาชิมก็มาได้เลยที่ร้านก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นลำไย บ้านเวียงยอง ทางมาร้านก็ง่ายแสนง่ายครับ ขับรถมาตามถนนตัวเมืองลำพูนด้านใน แล้วนำรถมาจอดที่วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จากนั้นเดินข้ามสะพานขัวมุงมาก็จะเจอร้านอยู่ด้านซ้ายมือครับ หากเพื่อน ๆ มาไม่ถูกก็สามารถถามทางจากชาวบ้านทั่วไป ว่าร้านก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นลำไย บ้านเวียงยองไปทางไหน ? ทุกคนที่นี่รู้จักหมดครับ

นั่งรถรางเที่ยวชมเมืองลำพูนในอดีต


นั่งรถรางเที่ยวชมเมืองลำพูนในอดีต

ทริปนี้หมูหิน.คอมจะพาเพื่อน ๆ มานั่งรถรางเที่ยวชมเมืองลำพูนในอดีตครับ จังหวัดลำพูนเป็นจังหวัดเล็ก ๆ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีวัดวาอาราม บ้านเรือนแบบโบราณ เรียงรายอยู่สองข้างทางถึงแม้ว่าจะเป็นเมืองเล็ก ๆ แต่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานที่สุดในแผ่นดินล้านนา อาณาจักรหริภุญไชยเป็นอาณาจักรพระพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรืองมากว่า 600 ปี ก่อนที่พญาเม็งรายจะสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น เมืองลำพูนจึงเหมาะแก่การเที่ยวชมวัดวาอาราม ศิลปวัฒนธรรม และงานหัตถกรรม โดยเฉพาะความเก่าแก่ในเขต อ.เมือง
และด้วยเหตุนี้เอง จังหวัดลำพูนจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวของเมืองลำพูนให้มีประสิทธิภาพ และเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น จึงได้ดำเนินการจัดบริการนักท่องเที่ยวด้วยรถรางประยุกต์ จำนวน 2 คัน สำหรับพานักท่องเที่ยวเยี่ยมชมสถานที่สำคัญและน่าสนใจของเมืองลำพูนจำนวน 12 แห่ง ภายใต้ชื่อโครงการ “รถนำเที่ยวลำพูน เมืองบุญหลวงแห่งล้านนา” บริการทุกวันๆละ 2 รอบ เช้ากับบ่าย ซึ่งทางจังหวัดจัดรถบริการรอรับนักท่องเที่ยวไว้ที่บริเวณด้านหน้าวัดพระธาตุหริภุญชัย โครงการนี้หวังว่าจะช่วยฟื้นฟูการท่องเที่ยวของเมืองลำพูนให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง

ก่อนที่จะขึ้นรถรางที่จอดรอรับนักท่องเที่ยวที่บริเวณด้านหน้าวัดพระธาตุหริภุญไชย หมูหิน.คอมต้องไปซื้อบัตรก่อน บัตรราคา 50 บาท บัตร 1 ใบสำหรับนักท่องเที่ยว 1 คนครับ นอกจากจะนั่งรถรางชมเมืองแล้ว ยังมีไกด์คอยให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งคอยตอบคำถามแก่นักท่องเที่ยวอีกด้วยครับ เพื่อน ๆ พร้อมหรือยัง ถ้าพร้อมแล้วไปกันเลยครับ


พี่ไกด์คอยให้คำแนะนำตลอดเส้นทาง
ที่ ลำพูน ยังมีรถสามล้อให้บริการอยู่

รถคอยรับนักท่องเที่ยว
ที่หน้าวัดพระธาตุหริภุญไชย วันละ 2 รอบ
พระพุทธรูปปางมารวิชัยในพิพิธภัณฑฯ หริภุญไชย

Rimkok Resort Hotel ริมกก รีสอร์ท


Rimkok resort provides a very large swimming pool and Chiang rai's largest outdoor whirlpool /Jacuzzi as a jogging trail winding over the whole area of the resort. Additional facilities include the elegant Sipsong Panna Dining room, the pleasant Saenwee Coffee Shop, the Heritage Grill and the cosy and intimate Rimkok Lounge. The refreshing Kinnaree Bar, overlooking the MaeKok River, provides a glorious view of the surrounding countryside. Come to Thailand 's far North, make the Rimkok Resort your base for adventures and sightseeing tours to the various fascinating and historic sites in Chiang Rai. Discover and explore beautiful mountains and tranquil forests and experience the culture and traditions of this unique and colorful region.

ริมกก รีสอร์ท ตั้งอยู่ใกล้กับริมแม่น้ำกกซึ่งเป็นแม่น้ำมงคลของจังหวัดเชียงราย ด้วยความที่เชียงรายเป็นจังหวัดที่อารยธรรมเก่าแก่มากมาย ริมกก รีสอร์ทจึงได้ออกแบบรีสอร์ทให้มีกลิ่นอายของความเป็นเมืองโบราณ แต่แฝงไว้ด้วยความหรูหราไว้ภายใน ไม่ว่าจะเป็น สระน้ำและอ่างน้ำวนที่มีขนาดใหญ่ พร้อมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากมาย อาทิ บาร์ที่มองเห็นวิวแม่น้ำกกและมีการจัดทัวร์ท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ อีกด้วย

Nam Thong Hotel - Chiang Rai โรงแรมน้ำทอง รีสอร์ท


โรงแรมน้ำทอง รีสอร์ท ตั้งอยู่สี่แยกมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ระยะทางจากโรงแรมถึงสนามบินนานาชาติเชียงราย ประมาณ 2.5 กิโลเมตร สามารถเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยว สำคัญๆ ของจังหวัดเชียงราย อาทิเช่น ดอยแม่สลอง ดอยตุง แม่สาย สามเหลี่ยมทองคำและเชียงแสน

Terms & Conditions:

All above rates are inclusive of breakfast, VAT (7%) and net.

Price are subject to be changed without prior notice.

Transfer : Airport transfer 100 Baht/Pax/Trip

Meal Rate:
Continental Breakfast 80 Baht
American Breakfast 120 Baht

Cancellation and No show Policy :
All cancellation or amendment must be made in written notice or email to us with our acknowledgement within 30 days prior to arrival date. Otherwise, we reserve a right to charge up to the entire amount of payment.
No show: Total payment is charged.

Payment Policy :
Full prepayment . Visa/master Card is accepted plus 3.5% service charge.
Without credit card guarantee or cash deposit, no booking is confirmed

เที่ยวเมืองเก่า อำเภอเชียงแสน เชียงราย


อำเภอเชียงแสน

ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ห่างจากเชียงราย 59 กม. โดยแยกจากทางหลวงหมายเลข 110 ที่ อ.แม่จัน ไปตามทางหลวงหมายเลข 1016 ประมาณ 31 กม.เชียงแสนเป็นเมืองเก่าแก่มากแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เดิมชื่อ "เวียงหิรัญนครเงินยาง" ปัจจุบันยังมีซากกำแพงเมืองสองชั้นอยู่ทางด้านหน้าก่อนเข้าตัวเมือง

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงแสน

ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมือง เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุที่ได้จากบริเวณเชียงแสนและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ลวดลายปูนปั้นฝีมือล้านนา พระพุทธรูปและศิลาจารึกจากเชียงแสนและจากพะเยา พร้อมทั้งให้ข้อมูลทางด้านวิชาการเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีการตั้งถิ่นฐานของชุมชน และประวัติการสร้างเมืองเชียงแสน นอกจากนี้ยังมีการจัด แสดงศิลปะพื้นบ้านของ ชาวไทยใหญ่ ไทยลื้อ และชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ เครื่องเขิน เครื่องดนตรี เครื่องประดับ อุปกรณ์การสูบฝิ่น เป็นต้น เปิดทำการตั้งแต่เวลา ๙.๐๐- ๑๖.๐๐ น. ทุกวัน เว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์

วัดพระธาตุจอมกิตติ

อยู่ในท้องที่อำเภอเชียงแสน ตั้งอยู่บนเนินเขานอกกำแพง มีทางแยกซ้ายมือเข้าไปประมาณ ๑.๗ กม. สร้างสมัยเดียวกับ พระธาตุจอมทองของเชียงราย เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ในเจดีย์ก่อเหลี่ยมไม้สิบสอง สมัยเชียงแสน


พระธาตุดอยปูเข้า

แยกจากเส้นทางเชียงแสน-สบรวก ก่อนถึงสามเหลี่ยมทองคำเล็กน้อย รถยนต์สามารถขึ้นไปถึงยอดเขา หรือจะเดินขึ้นบันได้ก็ได้ พระธาตุนี้สร้างขึ้นบนดอยเชียงเมื่ยงริมปากน้ำรวก เมื่อ พ.ศ. 1302 ในสมัยพระยาลาวเก้าแก้วมาเมือง กษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งเวียงหิรัญนครเงินยางโบราณสถานประกอบด้วยลวดลายปูนปั้น นอกจากนี้บนดอยเชียงเมี่ยงยังสามารถมองเห็นสามเหลี่ยมทองคำได้ชัดเจน


วัดพระธาตุเจดีย์หลวง

ตั้งอยู่ติดกับพิพิธภัณฑ์ สถานแห่งชาติเชียง แสนด้านทิศตะวันออก สร้างโดยพระเจ้าแสนภู เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โบราณสถานประกอบด้วย เจดีย์ประธาน ทรงระฆังแบบล้านนา สูง ๘๘ ม. ฐานกว้าง ๒๔ ม. เป็นเจดีย์ใหญ่ที่สุดในเชียงแสน นอกจากนี้มี พระวิหาร ซึ่งเก่าแก่มากพังทลายเกือบหมดแล้ว และ เจดีย์ราย แบบต่างๆ ๔ องค์

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วาเลนไทน์ ชวนแฟนไปปาย แม่ฮ่องสอน (ปายอินเลิฟ)


อำเภอปายเป็นเมืองเก่าแก่ ประชากรที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนแห่งนี้มาแต่เดิมคือชาวพ่ายหรือไปร ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ภาษาตระกูลออสโตร-เอเชียติก สาขาว้า-เรียง ดังมีร่องรอยหลักฐานซากวิหารและเจดีย์กระจายอยู่ทั่วไปทั้งบนภูเขาสูง ที่ดอนเชิงเขา บริเวณพื้นราบลุ่มน้ำปาย บางแห่งก่อสร้างด้วยหิน เช่น ในผืนป่าบริเวณใกล้น้ำตกเอิกเกอเต่อ ซึ่งเป็นต้นน้ำแม่ปิงน้อย บางแห่งมีการขุดคูเป็นร่องลึกบนภูเขาสูงชัน มีเจดีย์บนยอดเขา

มีหลักฐานว่าเจ้าเมืองคนแรกคือ ขุนส่างปาย ในสมัยพระเจ้ามโหตรประเทศ พระราชาธิบดีเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ส่งเจ้าแก้วเมืองออกสำรวจชายแดน ได้พบว่าภูมิประเทศน่าสนใจ จึงแนะนำให้ขุนส่างปายย้ายเมืองมาตั้งฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปายเพราะเป็นที่ราบกว้างขวาง ผู้คนจึงเรียกเมืองใหม่ว่า "เวียงใต้" ส่วนเมืองเก่าเรียกว่า "เวียงเหนือ"

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
เมืองปายเป็นเมืองที่มีคนตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยประวัติศาสตร์บริเวณที่ตั้งเมืองปายเป็นเมืองสำคัญของล้านนาในสมัยราชวงศ์มังรายซึ่งมีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง ต่อมาเมืองปายได้ร้างไปพร้อมกับเมืองเชียงใหม่ ประมาณปี พ.ศ. 2318-2338 เมืองปายได้ฟื้นฟูเป็นหมู่บ้านและพัฒนาเป็นอำเภอปาย โดยมีผู้คนหลายกลุ่มชาติพันธุ์อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ ได้แก่ คนไทยวน (คนเมือง) ชาวไทใหญ่ ชาวปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) และชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ ทั้งนี้เนื่องจากเมืองปายตั้งอยู่ในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย เหมาะสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปัจจุบันเมืองปายเป็นเมืองชุมทางที่สำคัญเมืองหนึ่งบนเส้นทางระหว่างเชียงใหม่กับแม่ฮ่องสอน

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

อำเภอปายมีร่องรอยการอาศัยอยู่ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และมีชุมชนโบราณที่ปรากฏชื่อในตำนานคัมภีร์ใบลานหลายเมือง และมีประวัติสืบต่อกันมานับร้อยปี ประกอบกับมีหลักฐานโบราณคดีปรากฏอยู่ในชุมชนโบราณดังกล่าวด้วย จากการศึกษาของพระครูปลัดกวีวัตน์ธนจรรย์ สุระมณี วัดเจดีย์หลวง อำเภอเมืองเชียงใหม่ มีรายงานการสำรวจว่าในเขตเมืองน้อย อำเภอปาย มีหลักฐานโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ดังนี้

ถ้ำผีแมน บ้านห้วยหก ตำบลเวียงเหนือ อยู่ห่างจากบ้านห้วยหกไปทางทิศตะวันตกราว 1,500 เมตร พบซากกระดูกและระแทะคล้ายรางไม้ให้อาหารสัตว์หลงเหลืออยู่ บางส่วนถูกชาวบ้านเผาไปเกือบหมดแล้ว ถ้ำผีแมนซึ่งเป็นที่อยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์นี้มีอยู่หลายแห่งในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เช่น
ถ้ำป่าคาน้ำฮู ตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน
ถ้ำน้ำลอด อำเภอปางมะผ้า พบหลักฐานของใช้ของคนถ้ำในยุคนั้นคือ กำไลแขนทำด้วยโลหะ หม้อดินลายเชือกทาบ ขวานหินขุด ระแทะไม้ ฯลฯ
ถ้ำดอยปุ๊กตั้ง อยู่ทางทิศใต้ของบ้านห้วยเฮี้ย ตำบลเวียงเหนือ ใช้เวลาเดินทางด้วยเท้าจากหมู่บ้านประมาณ 1 ชั่วโมง พบเครื่องใช้ของมนุษย์ถ้ำมีลักษณะเช่นเดียวกันกับที่พบในถ้ำผีแมนแห่งอื่น ๆ

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เที่ยววัดพระธาตุแช่แห้ง น่าน


วัดพระธาตุแช่แห้ง

เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่บนเนินทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน บริเวณที่เป็นศูนย์กลางเมืองน่านเดิม หลังจากที่ย้ายมาจากเมืองปัว วัดพระบรมธาตุแช่แห้งสร้างในสมัยเจ้าพระยาการเมือง (เจ้าผู้ครองนครน่านระหว่าง พ.ศ.1869-1902) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์ พระพิมพ์เงินและพระพิมพ์ทอง ที่ได้รับพระราชทานจากพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งที่เจ้าพระยาการเมืองเสด็จไปช่วยสร้างวัดหลวงอภัย (วัดป่ามะม่วง จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน) ในปีพ.ศ. 1897

องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ทรงระฆัง รูปแบบของพระธาตุแช่แห้งสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย โดยรอบองค์บุด้วยทองจังโก (ทองดอกบวบ ทองเหลืองผสมทองแดง) ทางขึ้นสู่องค์พระธาตุเป็นตัวพญานาค หน้าบันเหนือประตูทางเข้าพระวิหารเป็นปูนปั้นลายนาคเกี้ยว ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมเมืองน่าน

พระบรมธาตุแช่แห้งเป็นพระธาตุประจำปีกระต่าย ชาวล้านนาเชื่อว่า หากได้เดินทางไป “ชุธาตุ” หรือนมัสการพระธาตุประจำปีเกิดจะได้รับอานิสงส์อย่างยิ่ง นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมวัดพระธาตุแช่แห้งได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00-18.00 น.

การเดินทาง

วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่ที่ตำบลม่วงตึ๊ด จากตัวเมืองข้ามสะพานแม่น้ำน่าน ไปตามเส้นทางสายน่าน-แม่จริม หรือทางหลวงหมายเลข 1168 ประมาณ 3 กิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา, น่าน


อยู่ห่างจากจังหวัดน่าน ประมาณ 85 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 1080 สายน่าน-ปัว ระยะทางประมาณ 60 กม. จากนั้นใช้เส้นทางสายปัว-บ่อเกลือ อีกประมาณ 25 กม. ก็จะถึงที่ทำการ อุทยานซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขา (กม.ที่ 24-25) อุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นแหล่งกำหนิดของห้วยน้ำลำธารอันหลากหลายที่นำไปสู่ต้นกำเนิดแม่น้ำน่านที่มีความสำคัญทั้งทางธรรมชาตินิเวศวิทยา และประวัติศาสตร์โบราณที่เล่าถึงตำนานของคนเมืองน่านที่อาศัยอยู่นับแต่บรรพกาล
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,980 เมตร หรือประมาณ 5,300 ฟุต มีพื้นที่ประมาณ1,680 ตร.กม. หรือ 1,050,000 ไร่ ครอบคลุมท้องที่ อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง อำเภอแม่จริม อำเภอท่าวังผา อำเภอสันติสุข และอำเภอบ่อเกลือ ด้วยลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาสูงชัน สลับซับซ้อนสวยงามมาก มีสภาพป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าสน ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณป่าปาล์มดงดิบ อันอุดมสมบูรณ์ มีถ้ำ น้ำตก และทิวทัศน์

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีบ้านพัก และสถานที่ตั้งเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ กรมป่าไม้ จังหวัดน่าน โทร. (054) 710136, 710815 หรือที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา โทร. 054-701000, 054-731362


สิ่งที่น่าสนใจในอุทยานแห่งชาติดอยภูคาที่สำคัญ คือ ต้นชมพูภูคา ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่หายากที่สุดพันธุ์หนึ่ง มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า "ไบร์ทชไนเดอร์ซีเนนซีส" คาดว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว จนกระทั่งมีการค้นพบอีกครั้งในป่าดอยภูคาแห่งนี้ ดร.ธวัชชัย สันติสุข หัวหน้าฝ่ายพฤกษศาสตร์ กองบำรุง กรมป่าไม้ ลักษณะของดอกชมพูภูคา กลีบดอกด้านนอกมีสีชมพูจางขาว และกลีบดอกด้านในมีสีชมพูลายเส้นสีม่วง ชูช่อเป็นพวงใหญ่ ตั้งขึ้นดูสวยงาม จึงได้มีการตั้งชื่อตามสีของดอกและสถานที่ค้นพบว่าดอก "ชมพูภูคา" นับแต่นั้นมา ชมพูภูคาเป็นพืชใบประกอบ มีความยาว 30-70 ซม. ใบย่อย 4-9 คู่ ใบรูปไข่ผสมปลายดอกแหลม ฐานใบมนใต้ใบมีขน ดอกสีขาวอมชมพู กลีบดอก 5 กลีบ แยกออกจากกันเป็นรูปไข่ คว่ำโค้งงอที่ฐานหุ้มด้วยกลีบดอกรองอีกชั้นจนเกือบกลม มีความยาว 2-3.6 เซนติเมตร ขณะนี้กลุ่มต้นชมพูภูคาที่สมบูรณ์ที่สุด มีอายุราว 20-30 ปี อยู่รวมกัน 6 ต้นใหญ่ ออกดอกเต็มต้นทุกปี รวมถึงมีการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ บริเวณโคนต้นมีต้นกล้าเล็กๆ เต็มไปหมด ถือว่าเป็นแหล่งต้นชมพูภูคาที่สมบูรณ์แห่งหนึ่งในอุทยานนี้ นอกจากนี้ บนดอยภูคายังมีทิวทัศน์และธรรมชาติที่สวยงามอีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกภูฟ้า น้ำตกผาขี้นก น้ำตกแม่จริม น้ำตกต้นตอง มีถ้ำขนาดใหญ่หลายแห่งเช่น ถ้ำผาฆ้อง ถ้ำหลวง ถ้ำผาแดง มีธารน้ำลอด ลานหินและหน้าผา รวมทั้งป่าปาล์มดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่

เสาดินน้อย จ.น่าน


ตำบลเชียงของ ห่างจากตัวเมืองน่าน ๖๐ กิโลเมตร จากอำเภอนาน้อยมีทางแยกไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๘๓ ประมาณ ๖ กิโลเมตร เป็นเสาดินมีลักษณะแปลกตาคล้าย “แพะเมืองผี” จังหวัดแพร่ จากหลักฐานทางธรณีวิทยา พบว่าเสาดินนาน้อยเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในยุคเทอร์เชียรีตอนปลาย ประกอบกับการกัดเซาะของน้ำและลมตามธรรมชาติ นักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ ๑๐,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว เคยเป็นก้นทะเลมาก่อน และจากหลักฐานการค้นพบกำไลหินและขวานโบราณที่นี่ (ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน) แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้อาจเคยเป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์ยุคหินเก่า นอกจากนี้ยังมีจุดที่น่าสนใจอื่น ๆ ได้แก่ แก่งหลวง ห่างจากอำเภอนาน้อยประมาณ ๓๕ กิโลเมตร เส้นทางเข้าถึงแก่งหลวงลำบากมาก เป็นเกาะแก่งตามธรรมชาติ เกิดจากกระแสแม่น้ำน่าน ไหลผ่านโขดหินที่กระจายอยู่กลางแม่น้ำ ในหน้าน้ำจะได้ยินเสียงน้ำกระทบโขดหินดังกึกก้อง ยามหน้าแล้งจะมองเห็นแนวโขดหิน และหาดทรายสีขาวเป็นแนวยาวตามริมฝั่งแม่น้ำน่าน ลงเล่นน้ำได้ช่วงหน้าแล้งเดือนเมษายนเท่านั้น เพราะหน้าฝนน้ำจะเชี่ยวมากและเป็นอันตรายอาจทำให้จมน้ำได้ ผาหัวสิงห์และดอยเสมอดาว อยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๑๖ สายนาน้อย-ปางไฮ เป็นจุดชมทิวทัศน์บนยอดหน้าผาสูง สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ ๓๖๐ องศา มีพื้นที่เป็นลานกว้างตามสันเขา สำหรับพักผ่อนและดูดาว ดูพระอาทิตย์ตก หากจะเดินขึ้นไปบนผาสิงห์ (เป็นหน้าผาที่มีรูปร่างคล้ายหัวสิงห์) ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางจากอุทยานฯ เส้นทางมีระยะ ๒ กิโลเมตร ระหว่างทางจะพบต้นจันทน์ผาซึ่งเป็นไม้เด่น และเมื่อท้องฟ้าแจ่มใส จากผาสิงห์สามารถมองเห็น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา และแม่น้ำน่านได้

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประตูสู่จีนตอนใต้และลาว เชียงของ - หลวงพระบาง


การเดินทางสู่เมืองหลวงพระบาง สามารถเดินทางได้ทั้งทางรถและทางเรือ ทว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเลือกไปทางเรือ เพื่อชมภูมิทัศน์และสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนต่างๆที่อาศัยอยู่สองฝากฝั่งของแม่น้ำโขง โดยนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าสู่ลาวที่ จุดตรวจคนเข้าเมือง ที่ท่าเรือบั๊ค เชียงของ ประทับตราหนังสือเดินทาง และนั่งเรือข้ามฟาก ค่าโดยสาร 20 บาท

เรือโดยสาร ห้วยทราย-หลวงพระบาง

อัตราค่าโดยสารเรือช้า(Slow Boat) 850 บาท/คน ใช้เวลาเดินทาง 2 วัน (พักค้างคืนที่ปากแบง) โดยเรือจะออกประมาณ 10.30 น.

อัตราค่าโดยสารเรือเร็ว (Speed Boat)1,300 บาท/คน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง เรือจะออกประมาณ 8.30 -12.00 น.

หมายเหตุ : อัตราค่าโดยสารเรือขึ้นอยู่กับการกำหนดของชมรมท่องเที่ยวห้วยทราย




เชียงของ-เชียงรุ่ง (ตามแนวเส้นสีเขียว)

เส้นทาง เชียงของ - ห้วยทราย - เวียงภูคา - หลวงน้ำทา - บ่อเตน --บ่อหาน - เมืองล่า - เชียงรุ่ง เป็นอีกเส้นทางหนึ่งสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชนเผ่าต่าง ๆ ตลอดจนธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ ของลาวเหนือ

สภาพถนนระหว่าง ในลาวระยะทาง 254 กม. อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
การเดินทางอาจไม่สะดวกในบางช่วง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จเป็นถนนลาดยางตลอดสายภายในปี 2550
ส่วนถนนในจีน จากบ่อหาน ถึง เชียงรุ่ง ลาดยางตลอดสาย

เชียงของ-ห้วยทราย จากเชียงของ นั่งเรือข้ามฟากจากเชียงของไปยังเมืองห้วยทรายของลาว ค่าเรือข้ามฟาก 20 บาท โดยต้องเตรียมเอกสารผ่านแดนให้เรียบร้อย
ห้วยทราย - หลวงน้ำทา ต่อรถตุ๊กๆ ไปขึ้นรถสองแถวบริเวณตลาดห้วยทราย รถออกช่วงเช้าเวลาประมาณ 8.30 น. ค่ารถ 250-350 บาท ระยะทาง 198 กม. เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง (พักที่หลวงน้ำทา 1 คืน)
หลวงน้ำทา - บ่อเตน ท่ารถสองแถวอยู่บริเวณหน้าตลาดน้ำทา หรือขึ้นรถที่ไปแยกบ้านนาเตย แล้วต่อรถที่บ้านนาเตยไปด่านบ่อเตน ค่ารถประมาณ 60 บาท ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง ระยะทางประมาณ 55 กม.
บ่อเตน - บ่อหาน แสตมป์พาสปอร์ตออกที่จุดผ่านแดนบ่อเตน ของลาวและแสตมป์ เข้าจีนที่เมืองบ่อหาน(ระหว่างด่านทั้งสองห่างกัน 2 กม.ต้องนั่วสองแถว) จากนั้นอาจพักที่บ่อหาน 1 คืน
บ่อหาน - เชียงรุ่ง มีรถบัสขนาดกลาง วิ่งไปเชียงรุ่งระยะทางราว 230 กม.ทางลาดยางตลอดทางจะถึงเชียงรุ่งช่วงเย็น

แฟชั่นใหม่ ของม้งวัยมันส์


“สีเขียว กับสีม่วง เป็นสีที่คนม้งเดี๋ยวนี้นิยมกัน” สาวม้งร่างบางเจ้าของร้านขายเสื้อผ้า "วัยหวาน" บ้านเวียงแก้ว เล่าถึงกระแสนิยมในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา...
จากชุดที่เรียบง่าย พื้นดำ ผ้าคาดเอวสีแดง ปกฟ้า ปักลวดลายละเอียดด้วยด้ายหลากสีสัน เปลี่ยนเป็นผ้าสำเร็จมีลวดลาย เน้นสีม่วง และเขียว มีลายปักแทรกบริเวณคอและชายเสื้อบ้าง และเห็นลูกปัดร้อยเรียงต่อจากชายเสื้อและกระโปรง

ผ้าโพกศีรษะจากผ้าสีดำล้วนหรือสีดำเป็นพื้นมีลายปัก เปลี่ยนเป็นหมวกไหมพรมสีม่วงหรือเขียวระบายด้วยลูกปัดสีชมพูสลับเขียวเช่นกัน

แฟชั่นเสื้อผ้าม้งที่เปลี่ยนไปนั้นหลั่งไหลมาจากจีนตอนใต้ ซึ่งพ่อค้าคนจีนได้นำเสื้อผ้าม้งสำเร็จจากโรงงาน ที่แปลกตาไปทั้งสีสัน และรูปแบบ มาขายที่ เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ตรงข้ามอำเภอเชียงของ ทำให้มีพ่อค้าม้งไทยไปรับมาขาย ซึ่งเป็นที่นิยมเพราะราคาถูก และคนม้งรุ่นใหม่นิยมการเย็บปักผ้าน้อยลง

ขณะเดียวกันจะมีการผสมผสานกันระหว่างสีสันและผ้าสำเร็จของชุดม้งแบบจีนตอนใต้กับชุดม้งเดิม โดยกลุ่มม้งช่วงอายุ 20-30 ปี ที่ยังปักผ้าจะพัฒนาแบบ สีสัน และลายปักให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น แต่ยังคงเห็นความประณีตของงานปัก

"ซื้อผ้าสำเร็จลูกปัดมาจากห้วยทราย และนำมาเย็บและปักเอง ชุดนี้ใช้เวลาปักเกือบปี" สาวม้งกล่าว

ลายปักผ้าของคนม้งจะไม่มีการวางแบบก่อน แต่จะปักไปตามจินตนาการและความชำนาญของผู้ปัก จึงไม่มีการซ้ำแบบกัน

สิ่งที่ทำให้ชุดม้งมีคุณค่ามากขึ้นคือ เม็ดเงิน หากเป็นชุดที่เจ้าของตั้งใจทำอย่างประณีตก็จะลงทุนหาเม็ดเงินแท้มาประดับ

ผู้หญิงม้งจะนิยมเย็บปักชุดไว้คนละหนึ่งชุด โดยจะนำมาใส่ในเทศกาลปีใหม่ ที่แต่ละหมู่บ้านจะจัดงานกันพร้อมไปกับการฉลองหลังฤดูเก็บเกี่ยว

ในขณะที่ชุดม้งปัจจุบันหันไปหาผ้าสำเร็จมากขึ้น ทำให้ผ้าลายปักม้งเก่า ๆ มีมูลค่าสูงขึ้น ทำให้มีผู้นิยมผ้าเก่าเริ่มซื้อหาผ้าม้งเก่า ๆ มาเก็บ มาปรับแบบตัดเย็บใหม่ให้มีรูปแบบตามสมัยเป็นพัฒนางานผ้าต่างไปอีกรูปแบบหนึ่งมาวางจำหน่าย

"เดี๋ยวนี้คนม้งนิยมปักผ้าน้อยลง ขณะที่ผ้าที่ทำมือได้รับความนิยมมากขึ้น ในกลุ่มคนไทย และต่างชาติ เช่น ญี่ปุ่น ทางร้านได้หาซื้อผ้าของชาวเขา ทั้งของม้ง แลนแตน ไทยทรงดำ ฯลฯ มาปรับแต่งเย็บมือประยุกต์ให้เหมาะกับยุคสมัย นอกจากขายที่นี่แล้ว ยังส่งให้ร้านค้าที่จตุจักร ซอยละลายทรัพย์ ด้วย" เจ้าของร้านมะเก่าซึ่งจำหน่ายผ้าเก่าบริเวณท่าเรือน้ำลึกเล่าให้ฟัง

รถด่วน! หนอนไม้ไผ่ น่าริ้มลอง


รถด่วน...เป็นชื่อของ หนอนไม้ไผ่ ที่กลายเป็นอาหารจานเด็ด ของใครหลายคน

เหตุที่ชื่อว่า หนอนรถด่วน ก็เพราะคนสมัยก่อนเรียก รถไฟ ว่ารถด่วน เมื่อเห็นเจ้าหนอนไม้ไผ่มีลักษณะเป็นปล้องๆ ต่อเรียงยาว เหมือนขบวนรถไฟ จึงเรียกมันว่า ...รถด่วน...

หากเดินไปที่ตลาดสดอย่าเข้าใจผิดว่ากระบอกสีเขียวนี้เป็นข้าวหลามเชียว เพราะในกระบอกนี้จะถูกบรรจุ เจ้าหนอนไม้ไผ่นี้ประมาณกระบอก 30-40 ตัว เขาขายกันกระบอกหนึ่งประมาณ 12-13 บาท



เหตุที่นิยมเพราะรสชาติ และความสะอาด ว่าด้วยรสชาติก่อน "มัน" เป็นรสเอก บางคนที่ไม่นึกใส่ใจในรูปลักษณ์ก็จะนำไปคั่ว โดยใส่น้ำมันเพียงเล็กน้อยให้ทั่วกระทะ และคั่วไฟอ่อน ๆ จนเหลืองน่ารับประทาน ก็นำมาคลุกเกลือขึ้นโต๊ะได้

บางคนยังรับไม่ได้กับรูปลักษณ์ แต่นิยมในรสชาติ หลังคั่วเสร็จก็จะนำไปตำน้ำพริก เพิ่มรสชาติให้น้ำพริกนั้นหอมและมัน อร่อยนัก ..เขาว่าเช่นนั้น แต่ผู้เขียนยังไม่ลิ้มลองเพราะยังตัดไม่ขาดกับรูปลักษณ์อาหาร...

เนื่องจากหนอนไม้ไผ่นี้กินเยื่อไม้ไผ่อย่างเดียว จึงไว้ใจได้ในเรื่องความสะอาด เพราะเจ้าหนอนนี้เจาะไปอยู่ในกระบอกตั้งแต่ยังเป็นหน่อไม้ จนหน่อไม้โตเป็นต้นไผ่

หนอนไม้ไผ่นับเป็นอาหารถิ่น หากท่านผู้มาเยือนอยากลิ้มรสชาติอาหารที่แตกต่างกันก็ลองดูได้ ทั้งสะอาดและรสชาติดี บางภัตตาคารบริเวณลุ่มน้ำโขงนำขึ้นโต๊ะเป็นอาหารแนะนำ

ว่ากันว่าคนหาของป่าผู้ชำนาญจะสามารถรู้ได้ว่าในกระบอกไหนมีหนอนไม้ไผ่อยู่ และเวลาวางขายก็ไม่มีจำกัดเวลาเพราะเจ้าหนอนนี้กินเยื่อไผ่ กระบอกหนึ่งก็จะอยู่กันได้เป็นเดือน ๆ หากกระบอกแห้ง ก็นำกระบอกใหม่มาเปลี่ยนได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องการถนอมอาหาร

ทั้งอาจ เป็นอาหารแปลกที่จะนำไปฝากใครต่อใครได้...สำหรับ "รถด่วน" ที่ไม่ใช่ "รถ" และไม่ด่วน...อีกต่างหาก

อิ่มอร่อยกับปลาน้ำโขง เชียงของ


หาดจับปลาบึก

อยู่ที่บ้านหาดไคร้ หมู่ที่ 12 ตำบลเวียง ซึ่งเป็นแหล่งจับปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด โดยมีฤดูกาลจับอยู่ในระหว่างกลางเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ในแต่ละปีมีการผสมพันธุ์ปลาบึก ที่สถานประมงเชียงของเพื่อนำพันธุ์ปลาบึกที่ผสมได้ แจกจ่ายปล่อยตามแหล่งน้ำสาธารณะต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นช่วงที่ปลาบึกจะว่ายขึ้นเหนือเพื่อไปวางไข่ โดยก่อนการจับปลาบึกจะมีพิธีการสำคัญอีกอย่างหนึ่งต้องทำทุกปีก่อนการจับ นั่นคือพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก ทำพิธีในวันที่ 18 เมษายนของทุกปี ในพิธีการก็จะมีการเซ่นไหว้อาหาร เครื่องดื่ม เพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หลังจากนั้นก็จะเริ่มลงมือจับปลา โดยเครื่องมือจับปลาบึกของที่นี่เรียกว่า “มอง” ซึ่งเป็นอวนขนาดใหญ่พิเศษ เฉพาะจับปลาบึกเท่านั้น

ปัจจุบันบริเวณท่าจับปลาบึกบ้านหาดไคร้ ได้ดำเนินการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ปลาบึกและพันธุ์ปลาแม่น้ำโขงขึ้น ซึ่งจะเป็นศูนย์ศึกษาและให้ความรู้เกี่ยวกับการจับปลา การเพาะพันธุ์ปลาในแม่น้ำโขง นอกจากนี้บ้านหาดไคร้ ยังมีของฝากคือ “ไก” ซึ่งเป็นสาหร่ายน้ำจืดที่มีชื่อในแม่น้ำโขงเท่านั้น กลุ่มแม่บ้านที่นี่นำไกมาแปรเป็นอาหารได้หลายอย่าง เช่น ไกยี ไกแผ่นทอด ข้าวเกรียบไก เป็นต้น

ชมปลาบึก

ปลาบึก…ปลาน้ำจืดยักษ์ที่ลำน้ำโขง กล่าวกันว่า “ใครได้ลิ้มชิมรสปลาบึก จะโชคดีตลอดกาล” แหล่งจับปลาบึกที่สำคัญของประเทศไทยที่บ้านหาดไคร้ หมู่ที่ 7 ตำบลเวียง การจับปลาบึกจะอยู่ในช่วงเมษายน – พฤษภาคม ของทุกปี เมื่อถึงฤดูกาลการจับปลาบึกจะมีพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึกของพรานล่าปลา ก่อนจะลงมือจับปลา ในอดีตพรานปลาบึกจะล่าปลาบึกเพื่อเป็นอาหารและเพื่อจำหน่าย ปัจจุบันเป็นการล่าปลาบึกเพื่อการอนุรักษ์ มีการผสมเทียมเพาะพันธ์ปลาบึก นำลูกปลาแจกจ่ายไปปล่อยตามแหล่งน้ำสาธารณะ

บ้านหาดบ้าย

อยู่ระหว่างเส้นทางเชียงแสน-เชียงของ เป็นถนนเลียบแม่น้ำโขง เป็นหมู่บ้านของชาวไทยลื้อที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีอันงดงามน่าสนใจ โดยเฉพาะฝีมือการทองผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงจาก อำเภอเชียงของ นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือหางยาวไปได้ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง และยังได้ชมทัศนียภาพสองฝั่งโขงอันสวยงามอีกด้วย

การเดินทาง

การเดินทางสู่อำเภอเชียงของ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1020 จากเชียงราย-เทิง-เชียงของ ระยะทาง 137 กิโลเมตร หากใช้เส้นทางหลวงพหลโยธินจากเชียงราย-แม่จัน-เชียงแสน-เชียงของ ระยะทาง 118 กิโลเมตร หากใช้เส้นทางจากเชียงราย ผ่านพญาเม็งราย-เชียงของ ตามทางหลวงหมายเลข 1020 ระยะทาง 105 กิโลเมตร และถ้าหากใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1173 จากเชียงราย-เวียงชัย ไปตามเส้นทาง 1098-1174-1020 ระยะทาง 98 กิโลเมตร

ภูแว จังหวัดน่าน

ภูแว เมืองน่าน

จังหวัดน่าน เป็นจังหวัดหนึ่งของภาคเหนือ ที่อยู่ในโซนตะวันออกที่เรียกกันว่า ล้านนาตะวันออก เป็นจังหวัดที่มั่งคั่งด้วยศิลปวัฒนธรรม และธรรมชาติ ป่าเขาที่สวยงาม มีดอยภูคาที่ขึ้นชื่อเป็น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อันประกอบด้วยทิวทัศน์ ป่า เขา น้ำตก หมู่ดอกไม้ป่าและยังขึ้นชื่อในเรื่องดอกไม้ป่าที่หายากในเมืองไทยซึ่งพบที่ ดอยภูคาเพียงแห่งเดียว นั่นคือ ดอกชมพูภูคา

จากวันเวลาที่ผ่านมาเนิ่นนาน จนถึงช่วงเวลาของการพัฒนานำศักยภาพทางธรรมชาติมาเอื้อประโยชน์ และสร้างมูลค่าทางด้านการท่องเที่ยวและการพักผ่อน จึงทำให้ ดอยภูคาเมืองน่าน ได้เป็นที่รู้จักมาช้านาน ด้วยการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในพื้นที่ของเทือกดอยภูคา ยังมีขุนดอยที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง คือ ดอยภูแว ที่มีระดับความสูง 1,837 ม. จากระดับน้ำทะเล เป็นเทือกเขาที่มีความงดงามมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้า ป่าหิน มีพรรณไม้แปลกที่จัดว่าเป็นกึ่งอัลไพน์ที่ควรแก่การศึกษาอีกแห่งหนึ่ง

มีนักเดินทางหลายรุ่นที่ได้ผ่านขุนเขาแห่งนี้ เพื่อพิสูจน์ความงดงามเหนือขุนเขาสูงซึ่งมักจะมีมุมมองแบบการชื่นชมทิวทัศน์ความสวยงามที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล เนื่องจากสภาพภูมิทัศน์บนยอดดอยจะมีความสวยงาม ซึ่งเป็นเทือกเขาหินปูน มีป่าทุ่งหญ้า และมีสภาพอากาศที่หนาวเย็น จึงมักเป็นที่นิยมของนักเดินป่าเป็นอย่างยิ่ง

เนื่องจากสภาพดอยภูแว จะมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้า ป่าหิน มีลักษณะคล้ายป่ากึ่งอัลไพน์จึงทำให้มีพืชพรรณไม้ที่แปลกไปจากที่อื่นๆ จากการสำรวจค้นคว้าก็มารค้นพบต้นชมพูภูคา ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่มีชนิดเดียวในโลก ในประเทศไทยจะพบเพียงแห่งเดียวที่ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน เท่านั้น จะออกดอกประมาณเดือนมกราคมถึงต้นมีนาคม

นอกจากนี้ยังมีการค้นพบพรรณไม้ที่หายาก เช่น จำปีช้าง ไข่นกคุ้ม ค้อเชียงดาว โลดทะนงเหลือง ขาวละมุน เทียนดอย เสี้ยวเครือ มะลิหลวง สาลี่หนุ่ม เหลืองละมุน ประทัดน้อยภูคา กุหลาบแดง กุหลาบขาวเชียงดาว ส่วนพรรณไม้เฉพาะถิ่น คือ หมักอินทร์ คัดเค้าภูคา ประดับหินดาว หญ้าแพรกหิน นมตำเลีย รางจืดต้นภูคา ฯลฯ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้รับการสำรวจอย่างเป็นทางการแล้ว ดังนั้น เราจึงเล็งเห็นว่าผืนป่า ดอยภูคาแห่งนี้ยังคงความหลากหลายทางด้านพืชพรรณไม้มากมาย

ทะเลหมอกขาวโพลนที่ ดอยผ้าห่มปก


ด้วยความสูง 2,285 เมตรจากระดับน้ำทะเล ทิวทัศน์จากบนดอยห่มปกซึ่งสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยจึงตระการตามาก หากมองไปทิศตะวันตกจะเห็นทิวเขาสลับซับซ้อนในประเทศพม่า ทางทิศใต้เห็นยอดดอยหลวงเชียงดาว ทางทิศตะวันออกเห็น อ.แม่อายฝาง และไชยปราการ ในหน้าหนาวทะเลหมอกขาวโพลนจะปกคลุมทั่วหุบเขาเบื้องล่างจนเป็นจุดชมทะเลหมอกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่ง

ดอยผ้าห่มปกอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก ผู้ที่จะชมทิวทัศน์และทะเลหมอกที่ยอดดอยต้องพักแรมที่บริเวณจุดพักแรมลานกางเต้นท์ดอยกิ่วลม จากนั้นเดินตามทางขึ้นเขาไม่สูงชันนัก ระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงก็จะถึงจุดชมทิวทัศน์ ดังนั้นจึงต้องออกเดินทางตั้งแต่ตอนตี 4 เพื่อให้ทันชมพระอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางทะเลหมอก

บนดอยผ้าห่มปกยังเป็นถิ่นอาศัยของผีเสื้อหายาก เช่น ผีเสื้อไกเซอร์ รวมทั้งนกเฉพาะถิ่นสวยงามและหายาก เช่น นกขัติยา นกปีกแพรสีม่วง ระหว่างทางจะผ่านป่าดิบเขาที่มีเฟินห่มคลุมลำต้นเขียวครึ้มจนดูคล้ายป่าดึกดำบรรพ์

พักที่บ้านเคียงฟ้า ธรรมชาติที่แวดล้อมด้วยขุนเขา


บ้านเคียงฟ้า

บ้านบนดอยท่ามกลางธรรมชาติที่แวดล้อมด้วยขุนเขา และสายหมอก เหมาะสำหรับท่านที่ชื่นชอบความเป็นธรรมชาติ

บ้านเคียงฟ้า เพรียบพร้อมด้วยบรรยากาศอันสวยงาม ภายในบ้านโอ่โถง สะอาด มีความปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน

การเดินทางสะดวกสบายใกล้แหล่งท่องเที่ยว เพียง 4 กิโลเมตรจากวัดป่าอาชาทอง พระขี่ม้า

สถานที่ตั้ง : บ้านแม่สลองใน อ. แม่จัน จ. เชียงราย

แยกซ้ายจากถนนพหลโยธินเข้าไป 8 กม. ถึงแยกซอย Measalong Outdoor เลี้ยวขวาเข้าไป 3 กม.


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 081-6810618

แนะนำร้านอาหารบนดอยตุงค่ะ


ร้านอาหาร

ร้านอาหารมีบริการทั้งบนดอยตุง และที่เกรทเธอร์ แม่โขงลอดจ์ อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ เมนูพิเศษมีทั้งอาหารพื้นเมืองเหนือ อาหารชนเผ่า ผักสดๆ เมืองหนาวและผักป่าตามธรรมชาติในพื้นที่ ทั้งที่ชาวบ้านปลูกเองหรือเก็บมาขาย จึงไม่มีอันตรายจากสารพิษ

พ่อครัวแม่ครัวเป็นคนในพื้นที่ ที่มักดัดแปลงค้นคิดเมนูใหม่ๆ พนักงานผู้ให้บริการมาจากหมู่บ้านต่างๆ ที่ทำงานด้วยความภาคภูมิใจที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถของตนเองสร้างรายได้ เลี้ยงตนเองและครอบครัวให้มีความสุขได้อย่างที่ต้องการ

ชิมกาแฟดอยตุง สายพันธุ์อาราบิก้า


กาแฟดอยตุง

- กาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า
- ปลูกในแหล่งเดียวกันทั้งหมด (Single Origin)
- ปลูกใต่ร่มเงาไม้ใหญ่ (Shaded Grown)
- พิถีพิถันในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ การแปรรูป การคั่ว และการบรรจุ
- ปราศจากสารพิษ และสารออคคราทอกซิน (Ochratoxin) ซึ่งเป็นสารพิษจากเชื้อราเป็นสารก่อมะเร็ง
- จดขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) กับทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา ปี 2549


จากไร่ฝิ่นสู่ป่ากาแฟ

- เป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่กำเนิดขึ้นในปี 2531
- กาแฟเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่ปลูกขึ้นทดแทนการปลูกฝิ่น
- ฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรม
- ให้ชาวบ้านมีรายได้ที่ยั่งยืน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และพึ่งพาตนเองได้
- ได้รับการยกย่องจาก สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญกรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNODC และได้รับเกียรติให้ใช้สัญลักษณ์ UNODC บนสินค้าทุกชนิดที่ผลิตจากโครงการพัฒนาดอยตุงฯ


เส้นทางของกาแฟดอยตุง

- กาแฟเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการซื้อขายสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากน้ำมัน
- มีกาแฟที่ใช้อยู่ 2 สายพันธุ์


1. กาแฟพันธุ์โรบัสต้า (ROBUSTA) ปลูกง่าย ทนทานต่อโรคได้ดี มีคาเฟอีน 3.8% ต่อน้ำหนัก รสชาติของกาแฟนี้จะมีความเข้มและขม มีกลิ่นเปรี้ยว
2. กาแฟพันธุ์อาราบิก้า (ARABICA)สายพันธุ์ที่มีต้นกำเนิดจากบราซิลมีรสชาติดี ประมาณ 75% ทั่วโลกนิยมดื่มกาแฟพันธุ์อาราบิก้า มีคาเฟอีนต่ำเพียง 1.2 % ต่อน้ำหนัก รสชาตินุ่มนวล กลมกล่อม และกลิ่นหอมหวาน


ชิมกาแฟอย่างไรให้ถูกวิธี

- Aroma กลิ่นหอมของกาแฟ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของกาแฟจากแต่ละแหล่ง ซึ่งจะมีกลิ่นที่แตกต่างกันไป
- Acidity รสเปรี้ยวของกาแฟ สร้างความสดชื่นกระปรี้กระเปร่า
- Flavor ความกลมกลืนของรสชาติ เช่น ความเปรี้ยว กลิ่น และน้ำหนักของกาแฟ
- Body น้ำหนักและความเข้มข้นของกาแฟที่ทิ้งค้างอยู่ในปาก โคนลิ้น หรือลำคอ


กว่าจะมาซึ่ง 1 ถ้วยกาแฟ

- ความสดของกาแฟ จะต้องเป็นกาแฟที่สดใหม่ และเก็บอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะ ไม่โดนแสง ไม่ร้อน และไม่ชื้น
- สัดส่วน ถือเป็นส่วนสำคัญมาก เพราะหากเราใช้กาแฟมากจนเกินไป ก็จะทำให้น้ำกาแฟที่ออกมา มีน้อย รสชาติก็ไม่ดี หรือใส่น้อยจนเกินไปก็จะมีรสชาติที่อ่อน
- การบด ต้องให้เหมาะกับอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น ควรบดหยาบสำหับเครื่อง Dripper หรือ บดละเอียดสำหรับเครื่อง Espresso
- น้ำ ต้องใช้น้ำที่ดีและสะอาดเท่านั้น เพราะ 98% ของกาแฟคือน้ำ
- อุณหภูมิ อยู่ที่ประมาณ 92-96C

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หมู่บ้าน กระเหรี่ยงคอยาว



ตั้งอยู่ในเขต วนอุทยานผาหินตั้ง หมู่บ้านกระเหรี่ยงคอยาว บ้านปูแกง เป็นหมู่บ้านที่มีกระเหรี่ยงคอยาวมาอาศัยอยู่ มีการแต่งตัวและขายของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมทุกวัน

กระเหรี่ยงคอยาว หรือชนเผ่าปาดอง เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งอาศัยอยู่ลึกเข้าไปในดินแดนพม่า (ติดต่อกับเขตบ้านน้ำเพียงดินของประเทศไทย) ครับ ชาวปาดองยังชีพด้วยการเกษตรกรรม ปลูกข้าว ใบชา ยาสูบส่วนใหญ่จะนับถือ ศาสนาพุทธกับถือผี หญิง สาวชาวปาดอง จะสวมห่วงทองเหลืองที่คอและแขนขาและจะเพิ่มจำนวนห่วงมากขึ้นเมื่อ มีอายุเพิ่มขึ้น การ สวมห่วงค้ำคอไว้ตลอดเวลา ห่วงจะดันให้คอดูยาวกว่าปกติ แต่เคยมีการพิสูจน์ในวงการแพทย์ โดยการ เอ็กซเรย์ได้ผลออกมาว่า ความจริงแล้วคอปาดองจะไม่ยาวขึ้นกว่าคนธรรมดา กระดูกคอยังคงเท่าเดิม แต่ห่วงจะ ไปกดกระดูกช่วงไหล่ให้ลู่ต่ำลงไป จนดูว่าคอยาวกว่าปกติ การเดินทางไปเยี่ยมชมเผ่าปาดอง สามารถติดต่อได้ที่ แม่ฮ่องสอนรีสอร์ท โทร. (053) 611406 และริมน้ำกลางดอยรีสอร์ท โทร. (053) 612142 ครับ

ชมบรรยากาสอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง


อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอแม่แตง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสภาพป่าและธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามและจุดชมวิวที่สามารถชมบรรยากาศอันร่มรื่น โดยเฉพาะบริเวณห้วยน้ำดัง ที่มีชื่อว่าทะเลหมอกที่งดงามยิ่ง มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังมียอดดอยที่มีธรรมชาติงดงามอีกหลายแห่ง เช่น ดอยช้าง ดอยสามหมื่น รวมทั้งมีโป่งเดือดซึ่งเป็นน้ำพุร้อนธรรมชาติ ส่วนการล่องแพในลำน้ำแม่แต่งก็เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร

สภาพอากาศโดยทั่วไปเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซลเซียส อากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 8 องศาเซลเซียส ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 23 องศาเซลเซียส อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังคาบเกี่ยวพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ป่าอยู่ในเขตมรสุม กล่าวคือ พื้นที่นี้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมสะวันตกเฉียงเหนือนอกจากนั้นยังอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมพายุไซโคลน ด้วยจึงทำให้สภาพอากาศโดยทั่วไปมี 3 ฤดูดังนี้

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 24 องศาเซลเซียสและ ต่ำสุดประมาณ 10 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดปี 1,134 มิลลิเมตร ทิศทางลมมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้

ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 20 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 2 องศาเซลเซียส ทิศทางลมมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 28 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 12 องศาเซลเซียส ทิศทางลมมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้


อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
หมู่ที่ 5 ต.กึ๊ดช้าง อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่ 50150
โทรศัพท์ 0 5324 8491, 0 5326 3910, 08 4908 1531 (มือถือ) โทรสาร 0 5324 8491

ชมหมอกที่ดอยผาตั้ง อำเวียงแก่น เชียงราย


ดอยผาตั้ง
อยู่บนเทือกดอยผาหม่น ในเขตกิ่งอำเภอเวียงแก่น ห่างจากเชียงราย 160 กิโลเมตร และห่างจากกิ่งอำเภอ เวียงแก่นตามเส้นทางสายเวียงแก่น-ปางหัด-ผาตั้งประมาณ 27 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวสองฝั่งโขง ไทย-ลาว และทะเลหมอก บนดอยมีหมู่บ้านชาวจีนฮ่อ ม้ง และเย้า โดยเฉพาะชาวจีนฮ่อนั้น อดีตเคยเป็น ส่วนหนึ่งของกองพล 93 ซึ่งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ดอยผาตั้งนี้ ปัจจุบันประกอบอาชีพทางการ เกษตร ปลูกพืชเมืองหนาว เช่น บ๊วย ท้อ สาลี่ แอปเปิ้ล

การเดินทาง
จังหวัดเชียงราย ใช้เส้นทางเชียงราย-เวียงชัย-พญาเม็งราย-บ้านต้า (ทางหลวงหมายเลข 1233, 1173 และ 1152) 50 กิโลเมตร บ้านต้า-บ้านท่าเจริญ (ทางหลวง 1020) 45 กิโลเมตร บ้านท่าเจริญ-เวียงแก่น-ปางหัด (ทางหลวง 1155) 17 กิโลเมตร และปางหัด-ดอยผาตั้ง อีก 15 กิโลเมตร แล้วเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จึงจะถึงจุดชมวิว 103 สภาพเส้นทางบางช่วงสูงชัน เป็นพื้นที่ซึ่งอยู่ในความดูแลของกองทัพภาคที่ 3 บนดอยผาตั้งมีที่พัก สถานที่กางเต็นท์และร้านอาหาร สามารถไปเที่ยวได้ตลอดปี

เส้นทางภูเขาสาย สะเมิง - ป่าสนวัดจันทร์ - แม่ฮ่องสอน - ขุนยวม - แม่แจ่ม
เส้นทางขับรถเที่ยวสายนี้นับเป็นเส้นทางสายหฤโหดสายหนึ่ง ที่อาจไม่เหมาะกับการขับรถเที่ยวทั่วไป แต่อาจเป็นที่ถูกอกถูกใจของบรรดานักขับประเภทออฟโรด หรือบรรดาพวกรถขับเคลื่อนสี่ล้อทั้งทลาย เนื่องเพราะเส้นทางส่วนใหญ่เป็นทางดิน ทางลูกรัง บนภูเขา ผ่านป่ามากกว่าเส้นทางลาดยาง และยังต้องครบเครื่อง เพราะถนนลูกรังทั้งแคบคดเคี้ยวทั้งสูงชัน ถนนก็มักเป็นหินเป็นร่องน้ำเซาะ การเดินทางในเส้นทางสายนี้ควรไปเป็นกลุ่มสัก ๒-๓ คัน เพราะเส้นทางค่อนข้างเปล่าเปลี่ยวสักหน่อย แต่ก็เป็นถนนที่ชาวบ้านชาวดอยในถิ่นนั้นใช้กันประจำ
โดยเริ่มต้นจากเชียงใหม่ มุ่งหน้ามายังอำเภอ สะเมิง เส้นทางลาดยางตลอดแต่ขึ้นเขาสูงชันอยู่บ้าง จากนั้นก็เริ่มเข้าทางลูกรังทางป่า มุ่งสู่สวนสนธรรมชาติที่บ้านวัดจันทร์ อาจตั้งแคมป์พักที่บริเวณลานสนที่ทำการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) หรือจะใช้บริการที่พักง่าย ๆ ของ ออป. ก็สะดวกสบาย จากนั้นที่วันที่สองก็ต่อเส้นทาง สายวิบากและสูงชันมาทะลุตัวเมือง แม่ฮ่องสอน จะแวะเที่ยวตัวเมืองแม่ฮ่องสอนและพักค้างสบาย ๆ สักคืนก็คงเหมาะ จากนั้นออกแต่เช้ามุ่งหน้ามายังอำเภอขุนยวม แล้วเข้าสู่เส้นทางลูกรังสายโหดอีกครั้ง มุ่งสู่บ้านปางอุ๋ง ห้วยบง แม่นาจร ทะลุอำเภอ แม่แจ่ม เที่ยวชมภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชนกลางหุบเขาที่ แม่แจ่ม แล้วตัดออกมาทะลุดอยอินทนนท์ พักค้างแรมที่อุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ เที่ยวดอยอินทนนท์เป็นการปิดท้าย
รายละเอียดการเดินทาง
เส้นทางสายภูเขา เชียงใหม่-สะเมิง-บ้านวัดจันทร์-แม่ฮ่องสอน-ขุนยวม-เชียงใหม่ เป็นเส้นทางคดโค้งไปตามสันเขาสภาพทางส่วนใหญ่เป็นทางลูกรังแคบ เหมาะสำหรับผู้ที่ชำนาญการขับรถบนภูเขาเท่านั้น รถที่ใช้ควรเป็นรถขับเคลื่อนสี่ล้อ และไม่ควรใช้เส้นทางนี้ในฤดูฝนเพราะนอกจากจะอันตรายแล้ว ทางอาจถล่ม ถนนบางช่วงอาจขาด ไม่อาจใช้เดินทางได้
การเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่เข้าถนนซูเปอร์ไฮเวย์สายเชียวใหม่-ลำปางแล้วเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข ๑๒๖๙ สู่อำเภอสะเมิง ผ่านตัวอำเภอสะเมิงไปแล้ว เส้นทางลาดยางจะเปลี่ยนเป็นทางลูกรังแคบผ่านบ้านแม้วดงสามหมื่น บ่อแก้ว จนไปถึงบ้านวัดจันทร์ ซึ่งอยู่ในโอบล้อมของป่าสนเขารวมระยะทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ถึงบ้านวัดจันทร์ ๑๕๕ กิโลเมตร

จากบ้านวัดจันทร์ไปยังบ้านห้วยตอง เป็นทางลูกรังที่ขับรถไม่ยากนัก แต่เมื่อผ่านบ้านห้วยตองไปแล้ว เส้นทางขึ้นเขาจะแคบ คดโค้ง และสูงชัน อันตรายสำหรับผู้ที่ไม่ชำนาญทางสายภูเขา ผ่านบ้านห้วยปูเลยบ้านห้วยไม้ดำ และผ่านบ้านหนองขาวไปแล้วจะเข้าสู่ถนนลาดยาง ผ่านบ้านห้วยฮี้ จนไปสุดปากทางถนน รพช. ห้วยตอง-หัวน้ำแม่สะกึด ซึ่งตัดกับทางหลวงหมายเลย ๑๐๘ หากเลี้ยวขวาจะเข้าตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ระยะทางจากบ้านวัดจันทร์ถึงปากทางถนน รพช. นี้รวม ๙๓ กิโลเมตร
จากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนลงไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๘ สู่อำเภอขุนยวมก่อนถึงตัวอำเภอเล็กน้อย มีทางแยกซ้ายเข้าสู่ดอยแม่อูคอ นอกฤดูกาลดอกบัวตองบาน นักท่องเที่ยวสามารถไปชมน้ำตกแม่สุรินทร์ ซึ่งอยู่ห่างจากดอบแม่อูคอไป ๑๑ กิโลเมตร หรือไปชมโครงการอนุรักษ์กล้วยไม้รองเท้านารีตามพระราชดำริ โดยแยกขวาเข้าไปทางหน่วยจัดการต้นน้ำหัวปอน เมื่อถึงทางสามแพร่งให้ขับรถไปตามทางสายกลาง จนไปสุดทางที่โครงการอนุรักษ์กล้วยไม้รองเท้านารีฯ
จากดอยแม่อูคอย้อนกลับออกมาทางเดิม แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๒๖๓ สู่บ้านปางอุ๋ง จะเข้าสู่ทางลูกรังเมื่อเข้าเขตบ้านห้วยบง ผ่านบ้านแม่นาจร สู่อำเภอ แม่แจ่ม แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑๙๒ สู่ยอดดอยอินทนนท์
กลับลงสู่อำเภอจอมทองโดยใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๐๙ แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๘ กลับเข้าเมืองเชียงใหม่
ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก
ป่าสนบ้านวัดจันทร์ ราคาบ้านพักหลังละ ๓๐๐ บาท มี ๓ เตียง นักท่องเที่ยวควรเตรียมอาหารมาเอง ติดต่อที่พักได้ที่ ออป. บ้านวัดจันทร์ โทรศัพท์ (๐๕๓) ๒๔-๒๖๗๓, ๒๔-๕๓๕๖

เที่ยวดอยอ่างขาง - ดอยแม่สลอง


จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเส้นทาง
ดอยอ่างขาง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า เป็นที่ตั้งของโครงการหลวงที่ปลูกและทดลองไม้ดอกไม้ผลเมืองหนาว มีพืชพรรณไม้แปลกตาน่าเที่ยวชมโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ส่วนดอยแม่สลอง หรือหมู่บ้านสันติคีรีนั้น ตั้งอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เป็นหมู่บ้านชาวจีนฮ่อที่อพยพจากตอนได้ของจีน ตั้งอยู่ท่ามกลางแดนดอย มีทิวทัศน์งดงามแปลกตา
รายละเอียดการเดินทาง
ในเส้นทาง ดอยอ่างขาง นี้หากเริ่มต้นการเดินทางจากกรุงเทพฯ นักขับควรมีเวลาในการเดินทางราว ๓ คืน ๔ วัน โดยออกจากกรุงเทพฯ มุ่งสู่จังหวัดเชียงใหม่ พักค้างคืนในตัวเมืองเชียงใหม่เป็นการพักผ่อนการขับรถในเส้นทางยาวไกลสักคืน และถือโอกาสเที่ยวตัวเมืองเชียงใหม่ ไนต์บาร์ซาร์ แล้วพักสบาย ๆ ก่อนออกเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่แต่เช้าตรู่ ออกมาตามเส้นทางหมายเลข ๑๐๗ ผ่านอำเภอแม่ริม แม่แตง เชียงดาว แวะเที่ยวชมการแสดงช้างที่ปางช้างเชียงดาว บริเวณกิโลเมตรที่ ๕๖ ซึ่งเปิดแสดงประมาณ ๐๙.๐๐-๑๑.๐๐ นาฬิกา

จากนั้นเดินทางต่อมุ่งหน้าสู่อำเภอฝาง เส้นทางเป็นทางลาดยาง แต่ขึ้นเขาคดเคี้ยว กระทั่งถึงกิโลเมตรที่ ๑๓๗ มีทางแยกซ้ายมือที่บ้านท่าคาขึ้นสู่ดอยอ่างขาง ระยะทางอีก ๒๖ กิโลเมตร เส้นทางเป็นถนนลาดยาง แต่แคบคดเคี้ยวและสูงชัน บางช่วงถนนอาจหมดสภาพ เหลือเป็นถนนลูกรัง นักขับควรใช้ความระมัดระวังอย่างสูง
เมื่อพักแรมที่ดอยอ่างขางและเที่ยวชมบรรยากาศของสายหมอกดอกไม้ยามเช้าแล้ว เดินทางต่อออกมายังเส้นทางสายเดิมที่มุ่งสู่อำเภอฝาง สู่อำเภอแม่อาย สู่บ้านท่าตอน จากท่าตอนมีเส้นทางตัดไปยังคอยแม่สลอง ระยะทางราว ๔๖ กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางผ่านภูเขา เส้นทางมีภูมิประเทศงดงาม ที่ดอยแม่สลองมีโรงแรมที่พักบริการ
ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก
ภายในโครงการหลวงดอยอ่างขาง มีบ้านพักอย่างดีไว้บริการ ติดต่อสอบถามและจองที่พักได้ที่โทรศัพท์ (๐๕๓) ๔๕-๓๕๑๕-๑๙ สำนักงานกรุงเทพฯ โทรศัพท์ ๒๖๗-๙๗๑๑ หรือบ้านพักดอกเหมย ซึ่งเป็นที่พักของเอกชนโทรศัพท์ (๐๕๓) ๔๕-๑๑๖๗ ต่อ ๑๐๔ สำหรับดอยแม่สลอง มีที่พักแม่สลองรีสอร์ท โทรศัพท์ (๐๕๓) ๗๑-๔๐๔๗ และแม่สลองวิลล่า โทรศัพท์ (๐๕๓) ๗๑-๓๔๔๔

เที่ยวดอยภูชี้ฟ้า - ดอยผาตั้ง - ( ผาตั้ง )


จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจบนเส้นทาง

ภูชี้ฟ้า และดอย ผาตั้ง นับเป็นเทือกภูที่งดงามขึ้นชื่อของจังหวัดเชียงราย ความมหัศจรรย์ของผาหินบนยอด ภูชี้ฟ้า ที่ตั้งตระหง่านอยู่บริเวณชายแดนไทย-ลาวในเขตอำเภอเทิง ซึ่งยามเข้ามีทะเลหมอกที่งดงามและในยามเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ดอกเสี้ยวป่าบริเวณเทือกภูชี้ฟ้าจะผลิบานขาวพราวไปทั้งป่า จากนั้นเลยมาเที่ยวชมความงดงามของดอย ผาตั้ง แห่งกิ่งอำเภอเวียงแก่นซึ่งอยู่ไม่ไกลกัน ที่จุดชมวิวบน ดอยผาตั้ง นั้นสามารถมองเห็นแม่น้ำโขงไหลลดเลี้ยวอยู่เบื้องล่าง และในยามเช้ายังเป็นจุดชมทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นที่งดงามอีกด้วย
รายละเอียดการเดินทาง
จากกรุงเทพฯ มุ่งขึ้นเหนือใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-ลำปาง-พะเยา เลยมายังอำเภอพาน จากนั้นเลี้ยวเข้ามายังเส้นทางหมายเลข ๑๑๒๖ และ ๑๐๒๐ สู่อำเภอเทิง เตรียมหาซื้อข้าวของเสบียงให้พร้อมครั้งสุดท้ายที่อำเภอเทิง แล้วใช้เส้นทางหมายเลข ๑๑๕๕ ถึงบ้านปาค่า ระยะทาง ๒๑ กิโลเมตร มีป้ายบอกทางเลี้ยวขวาไป ภูชี้ฟ้า เส้นทางเป็นถนนลูกรังขึ้นเขาวกวน ระยะทาง ๑๙ กิโลเมตร ผ่านบ้านม้งเล่าอู มาถึงบ้านร่มฟ้าไทย ซึ่งเป็นหมู่บ้านเชิง ภูชี้ฟ้า
ที่หมู่บ้านมีที่พักแรมแบบชาวบ้านเรียบง่ายบริการ หากพอมีเวลาช่วงเย็นจะลองเดินเท้าขึ้นไปชมความงามบนยอด ภูชี้ฟ้า ก็ไม่น่าพลาด ซึ่งต้องเดินเท้าไต่ความสูงขึ้นไปอีกราว ๑.๕ กิโลเมตร ในยามเช้าหากต้องการชมพระอาทิตย์ขึ้นเหนือทะเลหมอกจะต้องเริ่มเดินขึ้นภูตั้งแต่ราวตี ๕ เศษ แต่ก็คุ้มค่ายิ่ง

จากภูชี้ฟ้าใช้เวลาสบาย ๆ จนสาย ๆ จึงเก็บสัมภาระ มุ่หงน้าสู่ดอยผาตั้งทอดยาวริมชายแดนไทย-ลาว เทือกเดียวกับ ภูชี้ฟ้า เส้นทางจาก ภูชี้ฟ้า มายัง ดอยผาตั้ง เป็นทางบูกรังระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร บนดอยผาตั้งก็เช่นกัน หากจะขึ้นไปชมทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นบนจุดชมวิวเนิน ๑๐๓ จะต้องจอดรถไว้เชิงดอยแล้วเดินทางเท้าขึ้นไปอีกราว ๒๐ นาที
เที่ยวกลับในเส้นทางสายนี้ท่านสามารวกกลับทางเดิมด้านอำเภอเทิง แล้วกลับเข้ากรุงเทพฯ หรือจะเข้าแวะเข้าไปเที่ยวตัวเมืองเชียงรายก็สะดวกยิ่งหากมีเวลาพอ
ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก
บนดอย ผาตั้ง มีที่พักชาวบ้าน ร้านอาหารยูนนาน ร้านก๋วยเตี๋ยวบริการ ส่วนภูชี้ฟ้านั้นนนมีที่พักแบบชาวบ้านเช่นกันแต่เรื่องอาหารจะต้องเตรียมซื้อหาไปจะสะดวกกว่า หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ททท. สำนักงานภาคเหนือ เขต ๒ จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ ((๐๕๓) ๗๑-๗๔๓๓, ๗๔-๔๖๗๔-๕

ชิมสตอเบอรี่ของผาตั้งฮิลล์


ในช่วงฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี แปลงสตอเบอรี่ของที่พักผาตั้งฮิลล์ ก็จะออกผลให้นักท่องเที่ยงได้ชมและชิมและซื้อกลับบ้านเป็นของฝากอย่างดี......

อร่อยกับเมนูอาหารจีนยูนนาน ที่ดอยผาตั้ง เชียงราย


มาที่ดอยผาตั้ง ต้องมาชิมอาหารจีนยูนนาน ไม่ว่าจะเป็นขาหมู หมั่นโถ และที่พลาดไม่ได้คือ สุกี้ ยูนนาน หากจะทานสุกี้ต้องสั่งจองล่วงหน้า 2 วัน เพราะเครื่องเคียงมากมายหรือเกินต้องหมักเครื่องเทศ รูปภาพความอร่อยจะทยอยลงให้ ตอนนี้ขอไปทานก่อนละ......

ส้าจี้น อาหารดิบๆ ของคนเมือง


ส้าจิ๊น คือส้าเนื้อ ส่วนผสมหลักคือ เนื้อควายหรือเนื้อวัวสด และเครื่องใน สำหรับเครื่องใน นิยมนำมาต้มก่อนปรุง ใช้เครื่องปรุง เป็นพริกลาบ เช่นเดียวกับลาบชนิดต่างๆ ถ้าทำเลี้ยงแขกตอนดึกหรือเช้าตรู่ สำหรับงานเลี้ยงที่มีการชำแหล่ะหมู วัว หรือควาย ส้าจิ๊นที่ทำตอนดึก เรียกกันว่า ส้าดึก

1. ใช้มีดทุบเนื้อก่อนนำมาหั่นเป็นชิ้นบางๆ
2. ซอยเครื่องในเป็นชิ้นบาง ๆ
3. ลวกเครื่องในให้พอสะดุ้ง พักไว้
4. ละลายน้ำเพี้ยและพริกลาบเข้าด้วยกัน ใส่เนื้อ คนให้เข้ากัน
5. ใส่เครื่องใน คนให้เข้ากัน
6. ใส่หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ผักไผ่ และผักชีต้นหอม คลุกเคล้าให้เข้ากัน

เคล็ดลับในการปรุง
หากไม่มีน้ำเพี้ย ใช้น้ำต้มเครื่องในแทนได้ หากชอบรสขม ให้ใส่น้ำดีลงไป
ถ้าไม่ชอบเนื้อดิบ ก็ต้มก่อนก็ได้
เคล็ดลับในการเลือกเครื่องปรุง
เนื้อที่ใช้ ถ้าจะให้อร่อย ต้องเป็นเนื้อแดงที่ไม่ติดมันหรือเอ็น
พริกลาบ ต้องใช้ที่ทำเสร็จใหม่ ๆ เพราะจะหอมกว่าที่เก็บไว้นานแล้ว

หลู้ อาหารของคนล้านนา


หลู้ เป็นอาหารประเภทดิบสดประเภทเดียวกับลาน และส้าจิ๊น ซึ่งใช้เครื่องปรุงเดียวกัน การทำหลู้นิยมใช้เลือดสดๆ ของหมู วัว หรือควาย ชาวล้านนานิยมใช้เลือดหมูในการทำมากกว่าเลือดวัวและควาย บางสูตรใช้น้ำเพลี้ย (กากอาหารที่ค้างในลำไส้ของวัวควาย) โดยนำเพี้ยสดๆ หรือต้มก่อนก็ได้ แทนน้ำเลือด เรียกว่า หลู้เพี้ย

1. คั้นเลือดสดด้วยใบตะไคร้ เพื่อดับกลิ่นคาวเลือด
2. ใส่น้ำต้มซุป พริกลาบ น้ำกระเทียมดอง และน้ำต้มกะปิ ลงในชามเลือด คนให้เข้ากัน
3. ใส่หมูสับ ลงในชามส่วนผสม
4. ใส่ไตหมู และมันหมู คนให้เข้ากัน
5. ใส่ใบมะนาวทอดกรอบ ใบมะกรูดทอดกรอบ ตะไคร้ทอดกรอบ หอมแดงเจียว กระเทียมเจียว ผักไผ่ และผักชีต้นหอม คนให้เข้ากัน
6. ใส่เครื่องในทอดกรอบ คนให้เข้ากัน

Food Lanna น้ำเงี้ยว อาหาคนเหนือเจ้า และวิธีทำ


ขนมจีน หรือเข้าหนมเส้น หรือเข้าเส้น ชาวล้านนานิยมมารับประทานเป็น ขนมจีนน้ำเงี้ยว หรือเข้าหนมเส้นน้ำเงี้ยว 2542 , 825-น้ำเงี้ยวเป็นน้ำแกงที่รับประทานกับขนมจีนหรือเส้นก๋วยเตี๋ยว ถ้าเป็นก๋วยเตี๋ยว เรียกก๋วยเตี๋ยวน้ำเงี้ยว บางสูตรใช้ถั่วเน่าแข็บหรือถั่วเน่าแผ่นย่างไฟ โขลกลงในเครื่องแกง แทนการใส่เต้าเจี้ยว ชาวไทใหญ่ หรือเงี้ยว เรียกว่า เข้าเส้นน้ำหมากเขือส้ม

1. ต้มน้ำ พอเดือด ใส่ซี่โครงหมู ต้มจนหมูนุ่ม
2. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด
3. ผัดเครื่องแกงกับน้ำมัน จนมีกลิ่นหอม ใส่เต้าเจี้ยวลงผัด คนให้เข้ากัน
4. ใส่หมูบด ผัดให้เข้ากัน จนหมูสุก
5. ใส่เครื่องแกงที่ผัดแล้วลงในน้ำหม้อต้มกระดูก ต้มจนเดือด ใส่ดอกงิ้ว ต้มต่อประมาณ 10 นาที
6. ใส่เลือดไก่ที่หั่นแล้ว คนให้ทั่ว
7. ใส่มะเขือเทศ
8. ตั้งไฟต่อประมาณ 5 นาที ยกลง นำขนมจีนใส่จาน ราดด้วยแกง (น้ำเงี้ยว) รับประทานกับเครื่องเคียง

เคล็ดลับในการปรุง
การทำน้ำเงี้ยวสามารถใช้เลือดไก่หรือเลือดหมูก็ได้

ดูหลินปิง ที่สวนสัตว์เชียงใหม่


ตั้งอยู่ที่ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร ใกล้กับสวนรุกขชาติ เป็นสวนสัตว์ขนาดใหญ่มีสัตว์มากมายหลายชนิด ทั้งที่มีอยู่ในเมืองไทยและนำมาจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก มีหมีแพนด้า ฑูตสันถวไมตรีเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีน หมีโคอาล่าจากออสเตรเลีย เชียงใหม่ ซู อควาเรียม ศูนย์แสดงสัตว์น้ำมีอุโมงค์ยาว 133 เมตร สวนนกเพนกวินและสวนนกฟิ้นช์ ซึ่งเป็นนกขนาดเล็ก มีสีสันสวยงามจนได้รับการขนานนามว่าเป็น อัญมณีบินได้ มีรถไฟฟ้ารางเดี่ยวพร้อมระบบปรับอากาศ บริการรับผู้โดยสารได้ครั้งละ 50-70 คน/ เที่ยว ระยะทางวิ่ง 2 กิโลเมตร จอดรับส่งผู้โดยสาร 4 สถานี เปิดทุกวัน เวลา 8.00-18.00 น. เปิดขายบัตรถึงเวลา 17.00 น. นอกจากนั้นยังมี ทัวร์ชมสัตว์ป่ายามค่ำคืน Twilight Zooโดยรถยนต์นำชมพฤติกรรมสัตว์ต่าง ๆ ที่ออกหากินยามกลางคืน พร้อมวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ตั้งแต่เวลา 18.30-21.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและจองทัวร์ได้ที่ โทร. 0 5321 0374, 0 5322 1179, 0 5322 2283 www.chiangmaizoo.com